อ.คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เเจงชัดเป็นข้อๆ กมธ.สภาก้าวล่วงหมายจับลุงพลไม่ได้

10 มิถุนายน 2564
1

อาจารย์นิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้การออกหมายจับคดี ลุงพล เป็นอำนาจศาลไม่ใช่ตำรวจ กรรมาธิการชุดนนายสิระ เจนจาคะ จึงไม่มีอำนาจพิจารณาถึง อาจเป็นการก้าวล่วงได้

ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ร่ายยามผ่านเฟซบุ๊คของตนเอง กล่าวถึงการที่ ลุงพลหรือ หรือนายไชย์พล วิภา พร้อมด้วยนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม  ได้เดินทางมายังรัฐสภาเข้าพบ นายสิระ เจนจาคะ ประธานกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมุกดาหารเป็นเท็จเพื่อออกหมายจับลุงพล และเจ้าหน้าที่ปฎิบัตหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งลุงพลให้ได้รับความอับอาย จากการควบคุมตัวที่เกินกว่าเหตุ

 

ตามข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับกรณีทนายษิทราและลุงพลไปยื่นหนังสือต่อคุณสิระ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรนั้น มีประเด็นทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยฝ่ายนิติบัญญัติที่สำคัญมากต้องอธิบายกันครับ

อ.คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เเจงชัดเป็นข้อๆ กมธ.สภาก้าวล่วงหมายจับลุงพลไม่ได้

จริงอยู่ว่าในฝ่ายนิติบัญญัติอย่างรัฐสภาจะมี "ระบบคณะกรรมาธิการ" (Committee system) คอยทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน (Redress of Grievances) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านการเรียกให้บุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ มานำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ตาม แต่อำนาจดังกล่าวมีขอบเขตจำกัด (Limitation) หาใช้ได้ตามอำเภอใจไม่

อ.คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เเจงชัดเป็นข้อๆ กมธ.สภาก้าวล่วงหมายจับลุงพลไม่ได้

ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว อำนาจของคณะกรรมาธิการในการรับเรื่องราวร้องทุกข์อันนำไปสู่การแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆ นั้นจะต้อง "อยู่ในส่วนงานของฝ่ายนิติบัญญัติ" (Parliamentary Proceedings) ในฐานะ "ภารกิจช่วยเหลือการดำเนินการของรัฐสภา" หากไม่ได้อยู่ในขอบวงงานรัฐสภา ย่อมไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าอาจเป็นเรื่องในอำนาจขององค์กรอื่น ตาม "หลักการแบ่งแยกอำนาจ" (Separation of Powers) นั่นเอง 

สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ทนายษิทราไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ โดยกล่าวว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการออกหมายจับลุงพล เพราะการที่ศาลออกหมายจับเป็นผลมาจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องเป็นเท็จว่าลุงพลมีพฤติกรรมหลบหนีให้ศาลพิจารณา ซึ่งไม่เป็นความจริง ในความเห็นของผมเห็นว่า คณะกรรมาธิการไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวเนื่องจากเป็นข้อจำกัดอำนาจของคณะกรรมาธิการในฝ่ายนิติบัญญัติด้วยเหตุผลหลักอย่างน้อยดังนี้

1. ประเด็นที่มีการร้องเรียนนั้นเป็นกรณีการออก "หมายจับ" ซึ่งดูราวกับว่าจะเป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ต้องไม่ลืมว่า ในเชิงหลักการแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดในการออกหมายจับ แต่เป็นเพียงผู้เสนอในเบื้องต้น (Initiator) ให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจขั้นสุดท้ายในการออกหมายจับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการถ่วงดุลมิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ ดังที่ปรากฏอยู่ใน มาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญ 

อ.คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เเจงชัดเป็นข้อๆ กมธ.สภาก้าวล่วงหมายจับลุงพลไม่ได้

ดังนั้น การออกหมายจับครั้งนี้จึงหาใช่อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยแท้ หากแต่เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจในการออกหมายจับ (ในทางปฏิบัติแล้ว ศาลเองก็ได้มีการสอบถามทางเจ้าหน้าที่พร้อมพิเคราะห์ข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงจึงได้ออกหมายจับไป) ซึ่งเมื่อ "หมายจับ" เป็นผลมาจากการใช้อำนาจตุลาการในขั้นสุดท้าย คณะกรรมาธิการจึงถูกจำกัดอำนาจไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปพิจารณาใดๆ ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) และ "หลักเขตแดนขององค์กรตุลาการที่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจก้าวล่วงได้" (sub judice) (ข้อเท็จจริงจะเปลี่ยนไปหากเรื่องนี้ยังไม่ไปถึงศาล)

2. หากไปตีความเป็นอย่างอื่นโดยให้คณะกรรมาธิการมีอำนาจในการรับเรื่องร้องเรียนโดยไม่คำนึงถึงหลักการตามข้อ 1 ที่อธิบายไปข้างต้น ย่อมนำไปสู่ประเด็นปัญหาอย่างยิ่ง กล่าวคือ กรณีหากคณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความผิดจริง จะไม่ได้เป็นการบ่งชี้ถึงข้อบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงเท่านั้น หากแต่จะกระทบต่ออำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ (ศาล) ในฐานะผู้ใช้อำนาจดุลพินิจชั้นสุดท้ายในการออกหมายจับ ยังมิพักที่จะกล่าวถึงการกลายเป็นบรรทัดฐานให้คดีอื่นๆ ปฏิบัติตามอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งในอนาคต     

3. ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว อำนาจของคณะกรรมาธิการมีขอบเขตจำกัด การปฏิบัติภารกิจต่างๆ จะต้องเป็นไปตามหลัก "วัตถุประสงค์ทางงานนิติบัญญัติ" (Legislative purpose) กล่าวคือ ไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายเสียเองอันเป็นบทบาทอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ (กรณีนี้คืออำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ) ด้วยเหตุผลเช่นนี้ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีอำนาจเรียกบุคคลใดๆ มาอันเป็นลักษณะของการไปเข้าไปพิจารณาชี้ผิดชี้ถูกใครในทางกฎหมาย 
อ.คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เเจงชัดเป็นข้อๆ กมธ.สภาก้าวล่วงหมายจับลุงพลไม่ได้
อนึ่ง ขอย้ำว่า ใครจะทำผิดกฎหมายในคดีน้องชมพู่คือประเด็นหนึ่ง แต่เรื่องการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการในรัฐสภาเพื่อให้แสวงหาข้อเท็จจริงเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งผมเห็นว่าตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการไม่มีอำนาจพิจารณาคดีออกหมายจับลุงพลครับ