ความหมายสำนวนที่ว่า "ตัดหางปล่อยวัด" แท้จริงแล้ว คือหางไก่ ไม่ใช่หางหมา

28 พฤษภาคม 2564
50

ความหมายสำนวนที่ว่า "ตัดหางปล่อยวัด" แท้จริงแล้ว คือหางไก่ ไม่ใช่หางหมา เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินสำนวนนี้ กับคำว่า "ตัดหางปล่อยวัด" ซึ่งหมายถึงการขอตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องอะไรด้วยอีกต่อไป

นับตั้งแต่บัดนี้สำนวนนี้ใช้ในการประชดประชันถึงการที่จะไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วยกับบุคคลดังกล่าว โดยการตัดหางปล่อยวัด เหมือนกับการตัดขาด ไม่ขอเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอะไรอีกต่อไป

 

ความหมายสำนวนที่ว่า \"ตัดหางปล่อยวัด\" แท้จริงแล้ว คือหางไก่ ไม่ใช่หางหมา

 

สำหรับที่มาของสำนวนตัดหางปล่อยวัดนั้น ว่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีกฏมณฑลเทียรบาลอยู่ว่า หากมีเหตุที่เหล่าข้าไทหรือพวกราชบริพารทะเลาะเบาะแว้งกันแต่เพียงเหตุเล็กน้อย จนไปถึงเหตุถึงขั้นทะเลาะตบตีหรือมีหญิงแท้งลูกแล้ว ตามกฏนั้นจะต้องเอาไก่ไปปล่อยเสียนอกพระนครเพื่อเป็นการปล่อยเสนียดจัญไรจากพระนคร 
 

ความหมายสำนวนที่ว่า \"ตัดหางปล่อยวัด\" แท้จริงแล้ว คือหางไก่ ไม่ใช่หางหมา

 

แต่ในปัจจุบันหลายคน เข้าใจว่าเป็นหางหมา แต่จริงๆแล้ว คำว่าตัดหางปล่อยวัดนั่นคือ หางไก่ ในสมัยโบราณนั้นจะเป็นการตัดหางไก่แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่นมีการทะเลาะวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกใน พระราชวังต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้นนั่นเอง

 

ความหมายสำนวนที่ว่า \"ตัดหางปล่อยวัด\" แท้จริงแล้ว คือหางไก่ ไม่ใช่หางหมา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Kodkid.iq