ปล่อย! ไฟเตือนน้ำมันโชว์บ่อยๆ ส่งผลเสียทำรถพังได้
ปล่อย! ไฟเตือนน้ำมันโชว์บ่อยๆ ส่งผลเสียทำรถพังได้ อาจจะทำให้รถยนต์ของคุณมีอายุที่การใช้งานที่สั้นลง เนื่องด้วย Fuel Pump หรือ ปั๊มเชื้อเพลิง จะพังเสียหาย
ปล่อย! ไฟเตือนน้ำมันโชว์บ่อยๆ ส่งผลเสียทำรถพังได้
ใครที่ชอบปล่อยให้ ไฟเตือนน้ำมันโชว์บ่อยๆ มาฟังทางนี้ โดยพฤติกรรมดังกล่าวแม้อาจจะไม่เห็นผลอะไรกับรถของคุณในช่วงเวลานี้ แต่ในระยะยาวบอกเลยว่าส่งผลกระทบแน่นอนครับ โดยเฉพาะระบบน้ำมันเชื้อเพลิง หรือบางทีถึงกับทำให้รถดับได้เลย รถยนต์ทุกคัน หากนับจากที่ไฟเตือนรูปถังน้ำมันโชว์ขึ้นมาครั้งแรง มันจะยังขับไปต่อได้อีกอย่างน้อยก็ 50 กิโลเมตร จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร รวมถึงรถแต่ละยี่ห้อก็มีระยะการเตือนไม่เท่ากัน โดยตัวเลขที่บอกระยะทางที่เหลือที่รถวิ่งต่อไปได้ จะถูกคำนวณจากความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่วิ่งไปก่อนหน้านี้ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่เป๊ะขนาดนั้นหรอกนะครับ แต่ก็อย่างที่บอกไป ไม่ควรที่จะปล่อยให้เป็นแบบนี้บ่อย ๆ
ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งออกมาเตือนคนที่ใช้รถ BMW กับ Mini ว่าไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเหลือระยะที่วิ่งได้ 50 กิโลเมตรลงไป เพราะจะทำให้ Fuel Pump (ปั๊มเชื้อเพลิง หรือในอดีตเรียกกันว่าปั๊มติ๊ก) พัง หรือ เกิดความเสียหายได้โดยง่าย ผมเองลองเข้าไปย้อนดูข่าวเก่าในต่างประเทศ ปรากฏว่ามีข้อมูลยืนยันไปในทิศทางเดียวกันครับ เพราะช่วงปี 2007-2012 ค่ายรถ BMW ในสหรัฐฯ เคยเรียกรถคืนกว่าแสนคันเพราะปัญหา “Fuel Pump” มาแล้ว
ขยายความคำว่า Fuel Pump คือ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าส่งเชื้อเพลิงด้วยแรงดันเข้าสู่ห้องเผาไหม้สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้หลายอย่างตามลักษณะการทำงาน เช่น ปั๊มเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เบนซิน ปั๊มเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจจะติดตั้งภายในถังเชื้อเพลิงหรือภายนอก หรือ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์
นอกจากนี้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องสามารถจ่ายน้ำมันในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ก็ยังต้องสามารถสร้างแรงดันได้อย่างเหมาะสมด้วย ถึงแม้ว่าปั๊มเชื้อเพลิงจะมีหลักการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน และมีหน้าที่ในการป้อนเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของเครื่องยนต์ เพราะปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงคือ ‘ต้นน้ำ’ แหล่งสำคัญของระบบเชื้อเพลิงทั้งระบบ เพราะถ้าหากว่าเกิดปัญหากับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงก็อาจจะส่งผลโดยตรงต่อสรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ได้