มันสำปะหลัง ได้รับการรับรองให้ผลผลิตเกิน 15 ตันต่อไร่
มันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ที่ได้รับการรับรอง ว่าสามารถให้ผลผลิตเกิน 15 ตันต่อไร่ อีกทั้งยังมีลักษณะเด่นอีกมากมาย
พันธุ์มันสำปะหลัง ที่ได้รับการรับรองว่ามีความสามารถในการให้ผลผลิตเกิน 15 ตันต่อไร่ แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่และการจัดการ ปลูกที่ดี ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์จะมีลักษณะเด่น ข้อดี และข้อเสียดังต่อไปนี้
1.มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 (CMR25-105-112)
เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ 27-77-10 กับพันธุ์ระของ 3 ผสมพับธุ์ขึ้นในปี 2525
ลักษณะเด่น
- ยอดอ่อนสีม่วงอ่อน มีไบสีเขียวเข้ม ต้นสีเขียวอมน้ำตาล มีความสูงเฉลี่ย 1.70 เมตร
หัวอ้วนสั้น เปลือกหัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาว
- ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยจากทั่วประเทศ 4.42 ตันต่อไร่
- ผลผลิตเฉลี่ย จากแปลง มทส. 12.44 ตันต่อไร่
- เปอร์เซ็นต์เเป้งเฉลี่ยในฤคูฝน 23% ฤดูแล้ง 26%
ข้อดี
1. มีความแข็งแรง
2. ปรับตัวเข้ากับ สิ่งแวดล้อมได้กว้าง
3. หัวดกจำนวนหัวเฉลี่ย 10.3 หัวต่อกอ
4. ทบโรคทนแมลง
5. ปลูกระยะซิดได้ตี
6. สามารถปลูกในดินทรายจัดได้ดี
ข้อเสีย
1.เปอร์เซ็นต์แป้งค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในฤดูฝน
2. มีอาการใบไหม้ เมื่อเข้าฤดูหนาวและแล้ง
2.มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7
ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ CMR30-71-25 กับพับธุ์ OMR29-20-118 ในปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระของ ตำบลหั้วยโป่ง อำภอเมือง จังหวัดระยอง ได้ผ่านการกัดเลือกพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และ ทำการประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ สถานีทคลองพืชไร่ และไร่เกษตรกร รวม 13 จังหวัด แปลงทคลองรวม 51 แปลง ระยะเวลาการทคลอง 12 ปี ตั้งแต้ปี พ.ศ. 2535 -2547
ลักษณะเด่น
- มีใบสีเขียวอ่อน ใบยอดสีเขียวอ่อน กั้านใบสีเขียวอ่อน
- ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ตั้งตรง ไม่โคังงอ ไม่แตกกิ่ง สูง 180 ชม.
- หัวเปลือกสีครึม เนื้อหัวสีขาว ไม่มีก้านหัว
- ผลผลิตเฉลี่ย 6.30 ตันต่อไร่
- แป้งเฉลี่ยในฤดูฝน 27.2%
ข้อดี
1. ลำต้นตรง ใช้ทำพันธุ์ใด้มาก
2. ปลูกได้ดีทั้งตับฝนและปลายฝน
3. งอกเร็ว ประมาณ 5 วันหลังปลูก
4. ให้ผลผลิตและปริมาณแป้งสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานทั่วไป
ข้อเสีย
ยังไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง
ถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและกิดกาวะแล้งยาวนาน หลังจากได้รับน้ำฝนอีกครั้งจะเกิด การแตกตาตามลำดันมากกว่าในสภาพปกติ ดังนั้น การนำสำนดังกล่าวไปเป็นท่อนพับธุ์ ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้นสูง จะได้ตับมันลำปะหลังที่มีเปอร์เชื่นต์การอยู่รอดสูงเหมือบกับใช้ท่อบพับธุ์สภาพปกติ
3.มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9
เป็นลูกผสมปี 2535 ด้จากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ CMR3 1-19-23 เป็นแม่และ OMR29-20-118 เป็นพ่อ ผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองและได้ประเมินศักยภาพของพันธุ์ใบพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 38 แปลง ทดลองระหว่างปี 2535-2542 พบว่าสายพัน ธุระยอง 9 ให้ผลผลิตแป้ง และผลผลิตมันแห้งสูง ในปี 2544-2547 ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองจึงร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการประเมินผลผลิตเอทานอลจากสายพันธุ์ระยอง9 ร่วมกับลูกผสมชุดเดียวกันนี้อีก 2 สายพันธุ์เพื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานได้แก่ ระยอง 5 ระยอง 72 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 ในระดับห้องปฏิบัติการ แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเอหานอลสูงจากการทดลองระดับห้องปฎิบัติการ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 90 ไปทดลองผลิตเอทานอลในระดับโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิต 1,500 ลิตร ที่ใช้หัวสดเป็นวัตถุดิบ พบว่า สายพันธ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตเอทานอลสูงกว่าพันธ์ระยอง 90 ทำให้ได้ข้อสรุปว่าสายพันธ์ระยอง 9 จึงเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเอทานอล และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ได้แก่ แป้งมัน มันเส้น และมันอัดเม็ด
ลักษณะเด่น
- ยอดอ่อนสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอ่อนปนชมพู
- ลำต้นสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลอมเหลือง ลำต้นสูงตรง ปกติไม่ค่อยแตกกิ่ง สูง 235 ชม. หัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อหัวสีขาวผลผลิตเฉลี่ย 49 ตัน/ไร่
- เปอร์เซ็นต์แป้งเฉลี่ยในฤดูฝน 27.2% ในฤดูแล้ง 27.6%
ข้อดี
1. เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในการใช้ทำเอทานอลเนื่องจากมีแป้งสูง
2. ทรงต้นดี สูงตรง ได้ต้นพันธุ์สำหรับขยายพันธุ์ได้มาก
ข้อเสีย
หากเก็บเกี่ยวก่อนอายุ 1 ปี จะให้ผลผลิต่ำกว่าพันธุ์อื่นๆ
ควรปลูกในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนสูงกว่า 1,000 มม.
ข้อควรระวัง
ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 1 ปี เนื่องจากสายพันธุ์ระยอง 9 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแต่สะสม น้ำหนักช้ำ ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วจะไห้ผลผลิตหัวสดต่ำกว่าพันธุ์มาตรฐานอื่นๆ
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ