thainewsonline

5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว

22 มิถุนายน 2568
5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว

ระวัง 5 อาหารเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร" หลายคนอาจสงสัยว่าเมนูโปรดที่เรากินกันเป็นประจำ จะเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารได้ยังไง? มาดูกันเลยค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนระวัง

5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว นพ. เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ "หมอเจด" รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ระวัง 5 อาหารเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร" หลายคนอาจสงสัยว่าเมนูโปรดที่เรากินกันเป็นประจำ จะเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารได้ยังไง? มาดูกันเลยค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน

5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว 5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว

หมอเจดอธิบายเพิ่มเติมว่า ประมาณ 80-90% ของมะเร็งกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ เอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งเชื้อตัวนี้แพร่กระจายง่ายมาก แค่ใช้ของร่วมกัน หรือทานอาหารที่ไม่สะอาดก็เสี่ยงแล้วค่ะ มาดูกันว่ามีอาหารไทย 5 ประเภทไหนบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

 

5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว 5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว

5 เมนูไทยยอดนิยม ที่คุณอาจกินอยู่ทุกวัน เสี่ยง "โรคร้าย" ไม่รู้ตัว

  1. อาหารปรุงไม่สุก: เมนูยอดฮิตของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็น ลาบ ก้อย ซอยจุ๊ ที่เน้นความสด หรือแม้แต่ หมึกช็อต การกินแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เหล่านี้เปิดโอกาสให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเราได้ง่าย ๆ เลยค่ะ
  2. อาหารปนเปื้อนน้ำไม่สะอาด: เมนูยำรสแซ่บที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้ง ยำวุ้นเส้น ยำหมูยอ ยำเล็บมือนาง ยำไข่มดแดง หรือแม้แต่ ยำกุ้งเต้น ถ้าใช้น้ำไม่สะอาดล้างผัก หรือแช่วัตถุดิบ อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาด้วยโดยไม่รู้ตัวค่ะ
  3. อาหารสัมผัสภาชนะหรือพื้นที่ไม่สะอาด: อาหารแห้งต่าง ๆ ที่เก็บในโถหรือไหที่ไม่สะอาด หรือ น้ำพริก ที่บรรจุในกระป๋องที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาได้เช่นกันค่ะ
  4. อาหารที่กินไม่ถูกสุขลักษณะ: เมนูยอดนิยมอย่าง ปูดิบ ปูนาดิบ หรือส้มตำปูดิบ ถึงจะอร่อยถูกปาก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อค่ะ หากเป็นไปได้ เลือกทานปูที่ผ่านการนึ่งหรือปรุงสุกจะดีกว่านะ
  5. อาหารเก็บในอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ: เช่น น้ำปลาร้า น้ำปลาเจ่า หรือน้ำบูดู หากเก็บรักษาไม่ดีในอุณหภูมิที่สูงเกินไป จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ง่าย นอกจากเสี่ยงท้องเสียแล้ว ยังอาจมีเชื้ออื่น ๆ ปนเปื้อนมาด้วยค่ะ

 

สำคัญมาก ทั้ง 5 อย่างที่หมอเจดกล่าวมานี้ ไม่ได้เกี่ยวกับอาหารรสจัดเลยนะคะ แค่อาหารธรรมดา ๆ นี่แหละ ถ้าทำไม่สะอาด หรือเก็บไม่ถูกวิธี ก็อันตรายได้

 

วิธีป้องกันเชื้อเอชไพโลไร เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • เชื้อเอชไพโลไรสามารถป้องกันได้ไม่ยาก เพียงแค่คุณใส่ใจเรื่องสุขอนามัยในการกินมากขึ้น:
  • ทำอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ: ล้างวัตถุดิบให้สะอาด และปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกทั่วถึง
  • เลือกร้านอาหารที่เชื่อถือได้: เลือกร้านที่มีสุขอนามัยที่ดี สะอาด และปรุงอาหารสดใหม่
  • ทานอาหารทันที: หลังปรุงเสร็จ ควรทานทันที
  • การเก็บรักษาอาหาร: หากจำเป็นต้องเก็บอาหารในตู้เย็น ไม่ควรเกิน 1 คืน ถ้าเกินกว่านั้น แนะนำให้แช่ช่องฟรีซหรือแพ็กอย่างดี เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
  • นอกจากนี้ หมอเจดยังแนะนำให้ทุกคน ตรวจหาเชื้อเอชไพโลไร ด้วยนะคะ เพราะเชื้อนี้ติดต่อกันง่าย และมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่ถ้าอยู่ในกระเพาะอาหารนาน ๆ จะทำให้เกิดแผลและนำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหารได้

 

ดังนั้น มาดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการใส่ใจเรื่องอาหารการกินกันเถอะค่ะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลมะเร็งกระเพาะอาหารนะคะ

 

ขอบคุณ : นพ. เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Thailand Web Stat