5 เรื่องต้องรู้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มาแรง อาการเฉียบพลัน อันตราย

17 กุมภาพันธ์ 2568
150

5 เรื่องต้องรู้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A อาการเฉียบพลัน อันตราย ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

มาดู “5 เรื่องต้องรู้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มาแรง อาการเฉียบพลัน อันตราย สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยน่าเป็นห่วง พบผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2567 ถึง 99,057 รายแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็ก และมีผู้เสียชีวิตสะสม 9 ราย ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

 

5 เรื่องต้องรู้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มาแรง อาการเฉียบพลัน อันตราย

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ อินฟลูเอนซาไวรัส (Influenza Virus) สายพันธุ์หลักคือสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B ซึ่ง สายพันธุ์ A จะมีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่า

 

5 เรื่องต้องรู้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มาแรง อาการเฉียบพลัน อันตราย

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กลับมาระบาดอีกครั้ง

ในช่วงนี้ ไข้หวัดใหญ่กลับมาระบาดอีกครั้ง โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งมีอาการรุนแรงและแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นๆ

 

อาการเฉียบพลันที่ต้องระวัง

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักมีอาการไข้สูงอย่างเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณหลัง ต้นแขน และต้นขา นอกจากนี้ยังมีอาการไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

 

ระยะการแพร่เชื้อที่ต้องรู้

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนเริ่มมีอาการ และแพร่ต่อไปได้อีก 3-5 วันหลังมีอาการ ดังนั้น ผู้ที่สงสัยว่าตนเองป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรแยกตัวออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

 

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

 

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

 

หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

  • พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

คำแนะนำ

  • หากสงสัยว่าตนเองมีอาการไข้หวัดใหญ่ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่กรมควบคุมโรค