รู้หรือไม่ วิธีใช้ปลั๊กพ่วงให้ปลอดภัย ไฟไม่ไหม้บ้าน ต้องใช้ยังไง หลายบ้านเข้าใจผิดมาตั้งนานว่า ปลั๊กพ่วงรองรับการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ทุกชนิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงนั้น ไม่ควรเสียบกับปลั๊กพ่วงทิ้งไว้นาน ๆ และไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อม ๆ กัน รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้
4 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ห้ามเสียบต่อกับปลั๊กพ่วง ก็คือ...
วิธีการใช้ปลั๊กไฟพ่วงอย่างถูกต้อง
1. เมื่อต้องการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับรางปลั๊กไฟพ่วงต้องปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนทุกครั้ง
2. ต้องเสียบขาปลั๊กไฟจากรางปลั๊กไฟพ่วงเข้ากับเต้ารับไฟบ้านให้ถูกขา ขาไหนควรเป็นขา L(เส้นที่มีไฟฟ้าหรือรูจ่ายไฟ) ขาไหนควรเป็นขา N (เส้นที่ไม่มีไฟฟ้า) จะให้แน่ใจหรือทราบได้จากการใช้ไขควงเช็คไฟในการตรวจสอบ
3. ขณะที่ใช้งาน ต้องให้หัวปลั๊กเสียบและเต้ารับแน่นไม่หลุดหลวม เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายเป็นประกายไฟลุกไหม้ได้
4. ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างพร้อมๆ กัน เพราะจะเป็นการใช้ปลั๊กไฟพ่วงเกินขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้า ก็เท่ากับเป็นการใช้ปริมาณไฟฟ้าเกินขนาดที่รางปลั๊กไฟพ่วงกำหนดไว้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สายไฟจะเกิดความร้อนสูงจนละลาย ทำให้สายทองแดงที่อยู่ในสายไฟทั้งสองเส้นแตะกัน ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเป็นเพลิงไหม้ได้
5. หลังจากที่ใช้งานแล้ว ควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากรางปลั๊กไฟพ่วง ถอดหัวปลั๊กเสียบของสายพ่วงออกจากเต้ารับที่ติดกับผนังทุกครั้ง เพื่อเป็นการตัดกระแสไฟฟ้า เป็นอีกวิธีในการป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
6. การเก็บสายไฟหรือระหว่างการใช้งาน ไม่ควรให้สายไฟเป็นลักษณะขดม้วน พับ งอ เพราะอาจจะทำให้สายไฟเสื่อมคุณภาพหรือเสียดสีจนร้อนเกิดไฟลุกไหม้
7. ต้องสังเกตหากเกิดสิ่งผิดปกติขณะใช้งานรางปลั๊กไฟพ่วง ไม่ว่าจะเป็นสายชำรุด สายไฟร้อน มีเสียงดัง เกิดประกายไฟ ต้องหยุดใช้งานทันที
สรุป : เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น ตู้แช่เครื่องดื่ม ไมโครเวฟ ห้ามเสียบกับปลั๊กพ่วงเด็ดขาด และสิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ ต้องเลือกใช้รางปลั๊กไฟพ่วงที่มีคุณภาพ วัสดุที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน อย่าเห็นแก่ของถูกอย่างเดียว และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรสังเกตและหมั่นตรวจสอบปลั๊กไฟพ่วงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากเกิดชำรุดเสียหาย อย่าเสี่ยงนำมาใช้เด็ดขาด เพราะการใช้ปลั๊กไฟพ่วงจะช่วยเอื้อให้สะดวกสบายขึ้น แต่หากใช้ไม่ระวังก็จะกลายเป็นสิ่ง
ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก เซฟไทย และ สสส. กระทรวงอุตสาหกรรม