เปิดวิธีช่วยคลายร้อน ลดความเสี่ยง ลดโรค

04 พฤษภาคม 2567
22

สำหรับใครที่มองหาวิธีคลายร้อนวันนี้มีวิธีทำสุดง่ายที่ทำได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน ใครที่กำลังนั่งเหงื่อตกกับอากาศร้อนลองนำวิธีเหล่านี้ไปคลายร้อนกันได้เลย

1. กินผลไม้ช่วยคลายร้อน การกินผลไม้ที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผลไม้ที่ให้ความเย็นอย่างเช่น แตงโม แคนตาลูป มะพร้าว ชมพู่ เสาวรส ส้มเขียวหวาน จะช่วยให้คลายความร้อนได้ดี

2. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะสองอย่างนี้มีคุณสมบัติช่วยคายน้ำออกจากร่างกาย เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ร่างกายขาดน้ำจนอยู่ในสภาวะช็อก ควรดื่มน้ำเปล่าแทน

3. ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียน้ำในร่างกายมากเกินไป และควรออกกำลังกายช่วงเย็น

4. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรเลือกนอนแต่หัวค่ำ เนื่องจากในช่วงหน้าร้อนกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืน เราจึงควรเข้านอนให้เร็วขึ้นเพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองหลังจากเสียเหงื่อมาทั้งวัน

5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำเปล่าจะดีที่สุด ในหนึ่งวันเราควรดื่มน้ำให้ได้ 10 แก้ว โดยควรมีขวดไว้ข้างกาย เพื่อใช้จิบระหว่างวัน

เปิดวิธีช่วยคลายร้อน ลดความเสี่ยง ลดโรค

6. สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี อากาศร้อนถ้าเราสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาก็คงไม่สบายตัว ควรเลือกเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีอย่างผ้าคอตตอน (ผ้าฝ้าย 100%) ที่ใส่สบาย เนื้อผ้านุ่มและดูดซับน้ำได้ดี 

7. ทำให้ในบ้านมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้ลมพัดเข้าให้อากาศถ่ายเทสะดวก และควรจัดบ้านให้โล่งๆ การใช้สีก็สามารถช่วยให้เรารู้สึกเย็นสบายได้เช่นกัน เช่น สีเขียว สีฟ้า

8. กินของหวานให้น้อยลง เพราะอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะส่งผลให้ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น 

9. กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เพราะอากาศร้อน เหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรกินอาหารค้างคืน หรือสุก ๆ ดิบ ๆ

10. นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน เนื่องจากฤดูร้อน อากาศร้อนอย่างต่อเนื่องอาจทำให้สัตว์หงุดหงิดได้ง่าย ประกอบกับช่วงปิดเทอมเด็กที่เล่นกับสุนัขจึงมีโอกาสถูกกัดได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นสุนัขในบ้านที่ได้รับวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม อาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจากที่สุนัขของตนไปเล่นกับสุนัขจรจัดนอกบ้านได้

เปิดวิธีช่วยคลายร้อน ลดความเสี่ยง ลดโรค

ร้อนนี้ต้องระวังสุขภาพในด้านใด

1. ความเครียด อารมณ์ร้อนง่าย เป็นช่วงเวลาที่ต้องอดทน ไม่อารมณ์ร้อนตามอุณหภูมิข้างนอก

2. หวัดแดด เลี่ยงการตากแดดช่วง 11.00-15.00 น. เป็นเวลานาน

3. โรคอาหารเป็นพิษ , โรคอุจจาระร่วง อากาศร้อนมักทำให้อาหารเสีย บูดง่าย ฉะนั้นต้องระวังอาหารการกินให้ดี เน้นสุก และสะอาด

4. โรคผิวหนัง อาการร้อนชื้น เมื่อเกิดการหมักหมมก็อาจทำให้เป็นกลาก เกลื้อน หรือผดร้อนได้

5. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ปวดหัว ตัวร้อน ไมเกรน ไอ จาม

เปิดวิธีช่วยคลายร้อน ลดความเสี่ยง ลดโรค

 

ขอบคุณ : โรงพยาบาลบางปะกอก