ออกรถมือสองฟรีดาวน์ สุดท้ายทำไมผู้ซื้อต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ?
เรื่องราวนี้เราจะมาไขข้อสงสัย สำหรับคนที่กำลังมองหารถยนต์มือสอง แบบ ฟรีดาวน์ 0% ทั้งที่เต๊นท์รถมือสองทั้งหลาย โปรโมทว่า สามารถออกรถฟรีดาวน์ ได้เลย
ออกรถมือสองฟรีดาวน์ สุดท้ายทำไมผู้ซื้อต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ?
ออกรถฟรีดาวน์ คืออะไร
ออกรถฟรีดาวน์ คือ ไม่ต้องจ่ายเงินดาวน์เมื่อซื้อรถ โดยปกติการซื้อรถจะต้องจ่ายเงินดาวน์ (แล้วแต่ว่ากี่เปอร์เซ็นต์) ยิ่งดาวน์มาก ยิ่งผ่อนต่อเดือนน้อย ทำให้เสียดอกเบี้ยน้อยลงไปด้วย แต่สำหรับฟรีดาวน์ ยอดจัดจะสูงเพราะเราไม่ได้นำเงินดาวน์ไปหักลบเลย
ดังนั้น เมื่อคำนวณรวมกับดอกเบี้ยและ VAT 7% จะทำให้ผู้ซื้อต้องรับภาระในการผ่อนต่อเดือนค่อนข้างสูง ในทางตรงกันข้าม โปรโมชันฟรีดาวน์ก็ทำให้คนออกรถได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องมีเงินก้อนก็สามารถออกรถได้
ซื้อรถฟรีดาวน์ ออกรถ 0 บาท ต้องเสียค่าอะไรเพิ่มอีกบ้าง
1. ค่ามัดจำป้ายแดง
ป้ายแดง คือ สีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่กรมขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ขายต้องติดให้ผู้ซื้อในระหว่างที่รถยนต์รอจดทะเบียน มีค่ามัดจำประมาณ 2,000 - 3,000 บาท และจะได้รับเงินคืนในวันที่เราไปเปลี่ยนเป็นป้ายขาว
สิ่งที่ผู้เช่าซื้อควรทำ คือ ตรวจสอบป้ายแดงที่ได้รับมาจากศูนย์ว่าป้ายทะเบียนนั้นถูกต้อง ไม่ใช่ป้ายปลอม เพราะถ้าตำรวจเรียกตรวจสอบป้ายแดงเมื่อไร อาจเกิดปัญหาตามมาได้
2. ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถ
กรณีเป็นรถใหม่ป้ายแดง ดาวน์ 0% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งมีราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวรถและขนาดเครื่องยนต์ อาจมีบวกค่าบริการเล็กน้อย
อัตราค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
ใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
ป้ายทะเบียนรถ 100 บาท
ค่าต่อภาษีรถยนต์ (ขึ้นอยู่กับประเภทรถและเครื่องยนต์)
3. ประกันสินเชื่อรถยนต์
การออกรถฟรีดาวน์ เราต้องจ่ายเงินทำประกันรถยนต์เพื่อเป็นหลักประกันกับทางไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นการรับประกันความเสี่ยงกับผู้เช่าซื้อ โดยค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่ประกันรถยนต์แต่ละชั้น และแต่ละบริษัทสินเชื่อ ว่ามีเรตราคาเท่าไหร่
คุณสมบัติของคนที่ออกรถฟรีดาวน์
- ต้องมีรายได้ 2 เท่าของยอดผ่อน จำเป็นต้องมีรายได้ประจำหรือฐานเงินเดือน 2 เท่าของค่างวดผ่อนชำระ ตัวอย่าง ฟรีดาวน์รถยอดผ่อน 8,000 บาท ทั้งหมด 60 งวด จะต้องมีรายได้อย่างน้อย 16,000 บาท (8,000x2=16,000) ถ้ามีเงินเดือนต่ำกว่า 16,000 บาท จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์
- ไม่ติดเครดิตบูโร เป็นคนมีประวัติทางการเงินดี จ่ายตรงงวดตลอด ไม่มีประวัติชำระเงินล่าช้า และไม่มีภาระหนี้สินในช่วงเวลาหนึ่ง จะถือว่าผ่านเกณฑ์
- มีที่อยู่ชัดเจน มีที่อยู่อาศัยหรือภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง สามารถติดต่อได้
- ต้องประกอบอาชีพเจ้าของกิจการ รับราชการ พนักงานบริษัท พนักงานรัฐวิสาหกิจ หากเป็นฟรีแลนซ์และเกษตรกร จะไม่เข้าเงื่อนไขในการพิจารณาของสถาบันการเงิน ทำให้ไม่สามารถออกรถฟรีดาวน์ได้
- มีอายุงานในสถานที่นั้นไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หรือผ่านโปรแล้ว
- ออกรถฟรีดาวน์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารที่ผู้ออกรถฟรีดาวน์ต้องเตรียม ได้แก่
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้านตัวจริง
- สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือนที่ออกโดยทางบริษัทที่ทำงานอยู่
- หนังสือรับรองเงินเดือน ที่มีตราประทับของทางบริษัท
- สมุดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
- เอกสารรายงานสถานะเครดิตบูโร (ถ้ามี)
- ทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์ (กรณีเป็นเจ้าของกิจการ)