ยานยนต์

heading

เผยสาเหตุ ขับรถยนต์ลุยน้ำ แล้วเครื่องดับ ทำไมจึงห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำ?

เผยสาเหตุ ขับรถยนต์ลุยน้ำ แล้วเครื่องดับ ทำไมจึงห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำ?

เนื่องด้วยประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝนอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง แล้วถ้าเกิดขับรถลุยน้ำลึกจนกระทั่ง “รถดับ” ขึ้นมาจริงๆ จะต้องทำอย่างไร? เรามีคำตอบครับ

เผยสาเหตุ ขับรถยนต์ลุยน้ำ แล้วเครื่องดับ ทำไมจึงห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำ? 

เผยสาเหตุ ขับรถยนต์ลุยน้ำ แล้วเครื่องดับ ทำไมจึงห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

เผยสาเหตุ ขับรถยนต์ลุยน้ำ แล้วเครื่องดับ ทำไมจึงห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำ?

ทำไมขับรถลุยน้ำท่วมแล้วรถดับ?

     สาเหตุที่ขับรถลุยน้ำแล้วเครื่องยนต์ดับ เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

     1. มีน้ำเล็ดลอดเข้าไปยังห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ - ส่งผลให้ระบบจุดระเบิดได้รับความเสียหาย เนื่องจากห้องเผาไหม้ (ลูกสูบ) ของเครื่องยนต์ทั้งเบนซินและดีเซลล้วนแต่มีกำลังอัดอากาศสูงมาก เมื่อเจอกับน้ำที่เล็ดลอดเข้าไปทางท่อไอดี จึงส่งผลทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการน็อกในทันที ยิ่งถ้าหากมีการเร่งเครื่องยนต์ให้มีรอบสูงด้วยแล้วล่ะก็ อาจถึงขั้นทำให้ก้านสูบคดเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ก็คือเครื่องยนต์พังไปเลย จำเป็นต้องยกรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการเผื่อแก้ไขด้วยการผ่าเครื่องยนต์เท่านั้น

     2. กล่องควบคุมเครื่องยนต์ (ECU) ได้รับความเสียหาย - กล่องอีซียูมีหน้าที่ในการควบคุมสั่งการทำงานของเครื่องยนต์ ทั้งการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง, การจุดระเบิด และอีกมากมาย หากว่ากล่องอีซียูจมน้ำ ก็จะได้รับความเสียหายจากการลัดวงจร ทำให้เครื่องยนต์ดับได้เช่นกัน และอาจยังส่งผลให้ระบบไฟฟ้าภายในรถได้รับความเสียหายอีกด้วย

หากว่าเครื่องยนต์ดับขณะลุยน้ำ ต้องทำอย่างไร?

     หากว่าโชคร้ายขับรถลุยน้ำแล้วเครื่องยนต์ดับขึ้นมาจริงๆ การพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์มักไม่ได้ผล และอาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมได้ ทางที่ดีควรเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนให้รถคันอื่นทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น จากนั้นออกจากรถเพื่อขอความช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเข็นรถไปยังพื้นที่สูง จากนั้นจึงโทรเรียกรถสไลด์หรือรถลากเพื่อนำรถเข้าอู่ต่อไป

น้ำท่วมเครื่องยนต์ดับ เคลมประกันชั้น 1 ได้หรือไม่?

     การเคลมค่าสินไหมทดแทนกรณีรถน้ำท่วมจนได้รับความเสียหาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

     1. น้ำท่วมจากภัยพิบัติธรรมชาติ - กรณีจอดรถไว้ตามปกติ แต่แล้วจู่ๆ เกิดน้ำหลากไม่สามารถย้ายรถหนีได้ทัน กรณีสามารถเคลมประกันภัยชั้น 1 ได้ตามปกติ แต่หากรถเกิดความเสียหายสิ้นเชิงไม่คุ้มที่จะซ่อม ก็จะถูกตีเป็น Total Loss และจ่ายเป็นเงินชดเชย 70-80% ตามเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่ง

     2. ขับรถลุยน้ำท่วม - หากขับรถลุยน้ำท่วมบนเส้นทางที่ภาครัฐมีการประกาศแจ้งเตือนว่ามีความเสี่ยงภัยน้ำท่วม แต่ยังคงขับผ่านเส้นทางนั้นจนทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถ กรณีนี้บริษัทประกันอาจปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้

     3. รถติดขัดขณะฝนตกหนักและมีน้ำท่วมขังโดยไม่ทราบล่วงหน้า - หากเป็นการขับรถใช้งานตามปกติแล้วเกิดรถติดพร้อมกับมีฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ส่งผลทำให้ตัวรถได้รับความเสียหาย กรณีเช่นนี้สามารถเคลมกับบริษัทประกันได้ตามปกติ

 

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีน้ำท่วมจนทำให้เครื่องยนต์ดับ มักเป็นความเสียหายที่รุนแรง มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท ทางที่ดีควรประเมินความสูงของระดับน้ำก่อนลุยน้ำทุกครั้ง หากพบว่าระดับน้ำสูงเกินครึ่งล้อขึ้นไป ก็ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นเสีย หรือยอมเสียเวลาจอดรถเพื่อรอระดับน้ำลดลง 

ข่าวเด่น

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 4 เช็กเส้นทาง "พายุโทราจี"

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 4 เช็กเส้นทาง "พายุโทราจี"

"หนิง ดาวติ๊กต็อก" เศร้า สามีจากไปกะทันหัน ครอบครัวยังทำใจไม่ได้

"หนิง ดาวติ๊กต็อก" เศร้า สามีจากไปกะทันหัน ครอบครัวยังทำใจไม่ได้

หวยลาววันนี้ 13/11/67 ผลหวยลาววันนี้ หวยลาววันนี้ออกอะไร 13 พ.ย.67

หวยลาววันนี้ 13/11/67 ผลหวยลาววันนี้ หวยลาววันนี้ออกอะไร 13 พ.ย.67

เปิดไทม์ไลน์และคุณสมบัติ ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน รอบใหม่ 68

เปิดไทม์ไลน์และคุณสมบัติ ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน รอบใหม่ 68

คลิปหลุดผู้ตัดสินฉาวพ่นพิษ ล่าสุดถูกแบนเกมทีมชาติ - เพื่อนโดนหางเลขไปด้วย

คลิปหลุดผู้ตัดสินฉาวพ่นพิษ ล่าสุดถูกแบนเกมทีมชาติ - เพื่อนโดนหางเลขไปด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading