thainewsonline

รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

15 พฤษภาคม 2566
288
รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

วันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักความแตกต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ความหมาย หลักเกณฑ์ ทำความเข้าใจ เพื่อเลือกให้เหมาะกับความสามารถไถ่ถอน

การจำนองที่ดิน

การจำนองที่ดิน หมายถึง การที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน คือ อสังหาริมทรัพย์ของตนมาเป็นประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง ตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง โดยสามารถคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากคิดดอกเบี้ยเกินจากนี้ ข้อตกลงนั้นถือเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี และเป็นความผิดอาญา 

รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้ รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

กรณีคู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ย หรือไม่มีกฎหมายใดกำหนดดอกเบี้ยอย่างชัดเจนไว้ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

การขายฝากที่ดิน

การขายฝากที่ดิน หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยกำหนดเวลาขายฝากกันได้ไม่เกิน 10ปี ถ้าไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนก็ต้องไถ่คืนภายใน 10ปี 

รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้ รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

ซึ่งผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์คืนเมื่อใดก็ได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่หากล่วงเลยกว่ากำหนดเวลาขายฝากแล้วยังไม่ไถ่ทรัพย์คืน ทรัพย์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะเป็นกรณีตกลงซื้อขายกันใหม่

 

หลักเกณฑ์การจำนอง

1.การจำนองต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี

2.ต้องระบุทรัพย์สินที่จำนองให้ชัดเจน

3.ต้องระบุจำนวนเงินเป็นเงินไทย เป็นจำนวนตรงตัว หรือจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์สินจำนองไว้เป็นประกัน

รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้ รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

ทรัพย์ที่สามารถจำนองได้

อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดิน

ที่ดินที่จำนองได้โดยทั่วไป ได้แก่ ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ได้แก่ ที่ดินมีโฉนดที่ดินโฉนดแผนที่ ,โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓, น.ส.๓ ก., น.ส. ๓ ข.)

ทรัพย์ที่สามารถจำนองได้

-อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดิน

รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้ รู้จักความต่าง จำนองที่ดิน และ ขายฝากที่ดิน ที่เราควรรู้

-ที่ดินที่จำนองได้โดยทั่วไป ได้แก่ ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ได้แก่ ที่ดินมีโฉนดที่ดินโฉนดแผนที่ ,โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓, น.ส.๓ ก., น.ส. ๓ ข.)

หลักเกณฑ์การขายฝาก

-ขายฝากที่ดินประเภทเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย

-เฉพาะกรณีผู้ขายฝากเป็นบุคคลธรรมดา 

กำหนดเวลาตามสัญญาขายฝาก
กำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี

สาระสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาขายฝาก

-ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา

-รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก

-ราคาที่ขายฝาก

-จำนวนสินไถ่

-วันที่ขายฝากและกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่

Thailand Web Stat