แยกให้ออก กัญชาคนกับกัญชาแมว ไม่เหมือนกัน!

25 เมษายน 2566
68

แยกให้ออก กัญชาคนกับกัญชาแมว ไม่เหมือนกัน แค่น้องสูดดมเข้าไปก็เหมือนได้รับสารพิษแล้ว อาการเป็นพิษต่าง ๆ อาจไม่ได้ส่งผลที่น่ากลัวในทันที แต่หากได้รับมากเกินไป จะส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อน้อง

Pet มีสาระ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของกัญชากับสัตว์เลี้ยง โดยหลังจากที่ประเทศไทยได้อนุญาตให้ กัญชาสามารถปลูก และค้าขาย ได้อย่างเสรี  สำหรับการรักษาสัตว์ในทางการแพทย์มีรายงานว่า กัญชาสามารถใช้เพื่อการรักษา ช่วยลดอาการเจ็บปวดและระงับการชักในกรณีที่เกิดลมชักในสัตว์เลี้ยงได้  แต่ว่าบางคนมีการเอากัญชามาใช้กับสัตว์เลี้ยงเอง โดยที่ไม่ปรึกษาสัตวแพทย์ เราก็เลยไม่รู้ว่าเหมาะสมหรือไม่ วันนี้จึงนำคำถามเหล่านี้มาสอบถามกับคุณหมอเจต นายสัตวแพทย์กวีวัธน์ ธนพัตจรูญพงษ์ นายสัตวแพทย์ประจำกวีวัธน์เพ็ทคลินิก ซึ่งทางคุณหมอกวีวัธน์ได้ให้คำตอบกับทาง Pet ไว้ว่า
จริง ๆ ตัวของกัญชาเองครับก็มีประโยชน์ คือสามารถใช้ได้ในหลาย ๆ อาการของโรคนะครับ อย่างเช่นในคนที่เราก็ใช้ในส่วนของการลดปวด ลดอักเสบ หรือว่าอาจจะเป็นการรักษาในส่วนของโรคเชิงพฤติกรรมการนอนหลับพวกนี้ก็ได้ ในสัตว์เองจริง ๆ ก็จะใช้คล้าย ๆ กับของคนเลย ก็จะเป็นตัวกัญชาอาจจะต่างกันที่ปริมาณการใช้กับข้อบ่งใช้ เพราะว่าน้องสัตว์แต่ละตัวเนี่ยก็จะน้ำหนักต่างกัน

แยกให้ออก กัญชาคนกับกัญชาแมว ไม่เหมือนกัน!

กัญชาแมวกับกัญชาคนไม่เหมือนกัน ตัวของกัญชาแมวเองจะเป็นพืชคนละชนิด คนละพันธุ์กันเลย แต่ว่าก็จะมีฤทธิ์ทำให้น้องแมวเคลิ้ม ซึ่งไม่ได้เป็นอันตรายกับน้องแมว แต่ว่าตัวของกัญชาคนเนี่ยก็คือถ้าใช้ในปริมาณที่ไม่ถูกต้องก็ส่งผลไม่ดี ส่งผลร้ายต่อร่างกาย
ถ้าหากว่าน้องหมาหรือน้องแมวไปกินกัญชาคนขึ้นมาหรือน้องเค้าได้รับ ก็คือจะขึ้นกับปริมาณที่ได้รับเข้าไปด้วย แต่ว่าทีนี้โดยส่วนใหญ่หลังจากที่กินเข้าไปแล้วเนี่ยประมาณสัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเนี่ย ก็คือมันจะเริ่มออกอาการ ซึ่งตัวของอาการที่เป็นเนี่ยสามารถอาจจะเป็นได้ยาวไปถึงแบบ 12 ชั่วโมงก็ได้ แล้วก็กว่าจะเกิดการขับทิ้งของตัวกัญชาเนี่ยจนหมดนะครับ อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 5 วัน ถึง 7 วันเลย อาการโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในส่วนของหัวใจเต้นเร็ว มึน เซ งง หรือว่าพฤติกรรมเปลี่ยนไป แล้วก็บางตัวเนี่ยอาจจะมีแบบอาการอ่อนแรง ดูเหมือนคนมึนๆ งงๆ ตลอดเวลา แต่ว่าถ้าได้รับไปปริมาณเยอะๆ ก็รุนแรงจนถึงขั้นแบบจะสามารถชักได้ สำหรับพวกการรักษา ก็คือทำได้แค่ในส่วนของกา Supportive การรักษาตามอาการจนกว่าเค้าจะสามารถขับตัวของยาออกไปได้หมด

แยกให้ออก กัญชาคนกับกัญชาแมว ไม่เหมือนกัน!

ถ้าพูดถึงเรื่องการนำกัญชามาใช้กับสัตว์เลี้ยงหรือว่าเอามาควบคู่กับการรักษาเนี่ย ถ้าทางสัตวแพทย์เองนะครับ ณ ปัจจุบันตัวของผลิตภัณฑ์ยังมีไม่เยอะ เพราะจริง ๆ คือตัวของทางคนเองก็เพิ่งจะเริ่มมีการนำมาใช้กัน ถ้าเป็นของสัตว์เองก็พวกงานวิจัยหรือพวกตลาด พวกอะไรอย่างนี้ก็ค่อนข้างน้อยเลย เรียกได้ว่ายังไม่ได้เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ ก็ยังคงรักษาแล้วก็ดูแลรักษาตามอาการเดิมของทางการแพทย์ ยังใช้เป็นในส่วนของยาที่มีการจดทะเบียนอะไรแบบนี้ในส่วนของตัวกัญชาเองถ้ากว่าจะถึงขั้นที่จดทะเบียน สามารถผลิตออกมาใช้ได้เนี่ยก็น่าจะอีกสักระยะนึง

แยกให้ออก กัญชาคนกับกัญชาแมว ไม่เหมือนกัน!