ทำความรู้จัก "โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท" อันตรายของสุนัขพันธุ์ใหญ่
รู้หรือไม่? ถึงแม้สุนัขพันธุ์ใหญ่จะดูมีร่างกายที่มั่นคงและแข็งแรง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพที่มาจากโครงสร้างทางร่างกายอันบึกบึนของน้อง ๆ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับกระดูกอย่างโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท
Pet มีสาระ วันนี้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทว่าจะมีลักษณะอาการเป็นอย่างไร และวิธีการรักษาเป็นอย่างไร ซึ่งคุณหมอกวีวัธน์ ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคในเรื่องของโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทไว้ว่า
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่มักจะเกิดในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น พวกเกรทเดน พวกโกลเด้น หรือว่าพวกโดเบอร์แมน มักจะมีปัญหานี้ได้บ่อย ๆ สาเหตุการเกิดโรคเกิดจากตัวของกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือหมอนรองกระดูกส่วนคอเนี่ย กดทับตัวของไขสันหลังและเส้นประสาท หรืออาจจะเกิดจากตัวของการได้รับสารอาหารบางประเภท เช่น พวกโปรตีน แคลเซียม ที่ปริมาณที่สูงเกินไป หรือบางตัวอาจะเกิดจากตัวของหมอนรองกระดูกคอเนี่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติในสุนัขบางสายพันธุ์นะครับ และบางตัวอาจเกิดจากความเสื่อมเองของหมอนรองกระดูกส่วนคอ อายุมากขึ้นก็จะเกิดพวกความเสื่อมอะไรแบบนี้ได้อยู่แล้ว
ส่วนอาการของโรคนะครับ ก็จะทำให้น้องหมาเนี่ยมีอาการเหมือนก้าวเดินสั้น ๆ นะครับ หรือว่าดูเหมือนเจ็บขาบริเวณขาหน้านะครับ บางตัวก็เหมือนเดินลำบาก แล้วก็ในรายถ้าเป็นรุนแรงก็อาจจะสามารถเหมือนอาการเหมือนอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เลย
ก็เรียกได้ว่าเหมือนคนเลย เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ลักษณะจะใกล้เคียงกัน แสดงว่าคุณหมอบอกว่ามีโอกาสเกิดสูงในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ แสดงว่าน้องแมวนี่โอกาสเกิดก็คือน้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่เกิดเลย
สำหรับตัวการรักษานะครับ ก็จะเป็นการแบ่งการรักษาเป็นประมาณ 2-3 ด่านนะครับ ก็ในส่วนของการรักษาทางยาเองเนี่ย โดยส่วนใหญ่จะทำเพื่อบรรเทาอาการ ใช้กับรายที่เป็นน้อย ๆ แต่ว่าตัวอาการ ตัวของโรคเองเนี่ยก็จะยังไม่ได้หายไป แต่ว่าอาจจะอยู่ในระดับที่เราสามารถใช้ยาประคับประคองได้ ส่วน 2 เนี่ยจะเป็นในส่วนของการผ่าตัด เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด อย่างเช่น การผ่าหมอนรองกระดูกคอส่วนที่มีปัญหาออกหรือการผ่าตัดในส่วนของกระดูกคอ เพื่อลดการกดของไขสันหลัง แล้วก็การผ่าตัดในส่วนของการนำหมอนรองกระดูกคอส่วนที่มีปัญหาออก หรือจะเป็นการใส่อุปกรณ์เทียมเข้าไปก็ได้ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดที่มีการกดทับ หลังจากการผ่าตัดไปแล้ว การตอบสนองเนี่ยจะค่อนข้างดีนะครับ แต่จะต้องใช้ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดด้วย เพราะจริง ๆ ในช่วงแรกเองเนี่ยสุนัขอาจจะยังมีอาการที่ยังเดินได้ไม่เต็มที่ 100% อาจจะยังต้องใช้กายภาพบำบัดร่วมด้วย