ประเทศไทย ซื้อรถEVมากที่สุด ผงาดเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน

28 ธันวาคม 2565
105

ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แซงหน้าอินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และมาเลเซีย

ประเทศไทย ซื้อรถEVมากที่สุด  ผงาดเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน

ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แซงหน้าอินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยคิดเป็นส่วนแบ่งยอดจำหน่ายสูงกว่า 60% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ที่ผ่านมา

ประเทศไทย ซื้อรถEVมากที่สุด  ผงาดเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน

โดยทาง บริษัทวิจัยการตลาด Counterpoint เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาพบว่าไทยมีสัดส่วนยอดจำหน่ายสูงถึง 59.2% ของปริมาณยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในภูมิภาค ตามด้วยประเทศอินโดนีเซียอยู่ที่ 25.2% และสิงค์โปร์อยู่ที่ 11.8%

     รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้น 35% ในช่วงไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยจำนวนนี้แบ่งออกเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วน (BEV) จำนวน 61% ส่วนที่เหลือเป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) อยู่ที่ประมาณ 39% โดยไม่นับรวมรถยนต์ไฮบริด (HEV) และรถยนต์ฟิวเซล (FCEV) แต่อย่างใด

ประเทศไทย ซื้อรถEVมากที่สุด  ผงาดเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน

ประเทศไทย ซื้อรถEVมากที่สุด  ผงาดเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในอาเซียน

อย่างไรก็ดี หากเทียบกับตลาดรถยนต์นั่งทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วล่ะก็ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะมีสัดส่วนคิดเป็น 2% เท่านั้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะค่อยๆ ขยับเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งด้านกฎระเบียบข้อบังคับ, การมอบเงินสนับสนุน และมาตรการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศไทย, อินโดนีเซีย, สิงค์โปร์ และมาเลเซีย

ซึ่ง Counterpoint ยังได้เปิดเผยสัดส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละแบรนด์ โดยอันดับ 1 คือ Wuling ซึ่งมีตลาดสำคัญอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วน 18.3% โดยมีโมเดลขายดีอย่าง Wuling Air EV ที่ถูกเปิดตัวเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ตามด้วย Volvo มีสัดส่วนอยู่ที่ 14.4%, BMW อยู่ที่ 13.2% ORA อยู่ที่ 12.2% และ Mercedes-Benz มีสัดส่วนอยู่ที่ 8.6%

นอกจากนั้น ประเทศไทย เป็นประเทศแรกของภูมิภาคที่ให้เงินอุดหนุนสูงสุด 150,000 บาทสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รวมถึงรัฐบาลยังอยู่ระหว่างพิจารณาเงินอุดหนุนแบตเตอรี่เพื่อลดต้นทุนเพิ่มเติมอีก ถ้าหากเป็นรถยนต์จากจีนจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและสรรพสามิตจนถึงปี 2023 แลกเปลี่ยนกับการเริ่มผลิตในประเทศไทยในปี 2024

จึงไม่แปลกที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายเจ้าในจีนจะขยับขยายเข้ามาตั้งฐานการผลิตภายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น BYD ที่มาแน่นอนแล้ว หรือบริษัทชั้นนำอย่าง GWM หรือ Hozon Auto จนศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ผลิต EV จีนในไทยจะเพิ่มจาก 58% เป็น 80% ในปีนี้