วันตรุษจีน การเชิดสิงโต และประวัติการเชิดสิงโตในไทย
การเชิดสิงโตในวันตรุษจีน และทุกๆ ปีจะมี การเชิดสิงโต ซึ่งเป็นเหมือนประเพณีที่ทำกันเป็นประจำ เป็นการเอาฤกษ์เอาชัยให้เกิดความเป็นสิริมงคลในวันตรุษจีน
การเชิดสิงโต เป็นประเพณี การเต้นรำ อย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีน โดยการแสดงนี้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโตที่ใส่แสดง การเชิดสิงโตปกติแล้วจะแสดงใน เทศกาลตรุษจีน ในโอกาสอื่นๆ เช่น งานเปิดตัวกิจการ งานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ งานมงคลสมรส หรือ งานเชิดชูเกียรติยศแขกพิเศษ
การเชิดสิงโตของจีน คือสิงโตต้องใช้นักเต้นสองคน ในการเชิดสิงโต ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นเป็นครั้งคราว เนื่องจากพวกเขาอยู่ภายในตัวสิงโต การเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเชิดสิงโตพบได้ในศิลปะการป้องกันตัวของจีนหลายแขนง
การ เชิดสิงโต ของจีน มีสองรูปแบบ หลัก คือ สิงโตเหนือ และ สิงโตใต้ การแสดงทั้งสองรูปแบบพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลกมักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเชิดสิงโตแบบใต้มีมากกว่าเนื่องจากได้รับการเผยแพร่โดยชุมชนจีนพลัดถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ การเชิดสิงโตรูปแบบอื่นๆ อาจพบในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต และเวียดนาม การเชิดสิงโตอีกรูปแบบหนึ่งมีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย แต่เป็นประเพณีที่แตกต่างไปและอาจเรียกว่าซีวาบาง
ในอดีต คณะสิงโตประเทศจีนจะตั้งขึ้นเป็นคณะใหญ่ๆ มีสมาชิกประมาณ 70 - 80 คน และต้องใช้เวลา ฝึกฝนการเชิดสิงโตไม่น้อยกว่า 3 ปีครึ่ง ก่อนออกแสดงได้ นอกจากนั้นฝึกหัดมวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่น ๆ การเชิดสิงโตจะใช้ลีลาการร่ายรำเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบำสิงโต
แต่หลังจากสมัยของราชวงศ์ชิง จึงค่อย ๆ ถูกหลอมรวมเข้ากับหลักวิทยายุทธ์ การเชิดสิงโตให้ดูสง่างดงาม มีชีวิตชีวา ต้องมีพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ และมั่นคง คนเชิดสิงโตต้องรู้จังหวะการยกเท้าให้มีอากัปกิริยาเหมือนสิงโต ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด กลิ้งเกลือกหรืออื่นๆ ก็ตาม
ดังนั้นความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่างจึงมีความสำคัญที่จะสามารถเชิดสิงโตให้ดูน่าเกรงขาม ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งท่วงท่าของการย่างเท้าที่ใช้ในการเชิดสิงโต ก็คือหลักของการใช้เท้าในการฝึกการต่อสู้ของจีน หรือ มวยจีนนั่นเองคะ
ประวัติการเชิดสิงโตในไทย
สิงโตที่เราเห็นกันนั้น ก็มีรูปร่างหน้าตาหลากหลายประเภท โดยชาวจีนแบ่งเป็น สิงโตเหนือ และสิงโตใต้ โดย สิงโตเหนือ มีต้นแบบมาจากสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ทำให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิงโตปักกิ่ง ซึ่งหุ่นสิงโตจะมีขนยาว ขาเล็ก ร่างเล็ก สามารถเชิดคนเดียวหรือสองคนก็ได้
ส่วน สิงโตใต้ จะนิยมเชิดในมณฑลกวางตุ้ง กว่างซี และฮกเกี้ยน แต่ต่อมาภายหลังชาวจีนทางตอนใต้และในมณฑลกวางตุ้งได้อพยพไปอยู่ยังภูมิภาคต่างๆ ของโลก สิงโตกวางตุ้ง จึงได้รับ การรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ได้รับรูปแบบการเชิดแบบกวางตุ้ง ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
รูปร่างลักษณะของหัวสิงโตก็จะมีความแตกต่างกันไปแต่ชาวจีนแต่ละกลุ่มเป็นจะประดิษฐ์ขึ้น ส่วนใหญ่ก็จะเห็น คือ
สิงโตของชาวจีนแคระ
มีหัวคล้ายกับบุ้งกี๋ ทาหน้าเป็นลายสีเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โต
สิงโตกวางตุ้ง
จะประดับกระจกที่หน้า เขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง
สิงโตไหหลำ
ชาวจีนไหหลำได้มีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้มีลักษณะแตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด
สิงโตแต้จิ๋ว หรือ สิงโตปักกิ่ง หรือ สิงโตกวางเจา
มีลักษณะคล้ายกับหมาจู มีขนปุกปุย ตาโต มีโบว์ที่หัว และติดกระดิ่งที่ใต้คาง จะแสดงสองตัวขึ้นไป
ขอบคุณที่มา/ภาพจาก : โซเชียลมีเดีย และ วิกิพีเดีย และ chiangmainews