thainewsonline

ตีแผ่ความจริง "แกงส้มปราบมะเร็ง" แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม

28 พฤษภาคม 2568
ตีแผ่ความจริง "แกงส้มปราบมะเร็ง" แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม

กลับมาแชร์อีกครั้งกับกระแส "แกงส้มปราบมะเร็ง" นักวิชาการเร่งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ชี้ชัดเป็นการบิดเบือนงานวิจัย หวั่นผู้ป่วยเลิกใช้ยารักษา

งานวิจัยเก่าถูกแชร์ใหม่ผิดเพี้ยน! ผลทดลองในห้องแล็บกับเซลล์มะเร็งไม่ใช่หลักฐานว่า "แกงไทย" รักษาโรคได้จริง นักวิจัยย้ำ อาหารมีประโยชน์แค่เสริมสุขภาพ ไม่ใช่ทางเลือกแทนยา รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ตีแผ่ความจริงชัดหลังแชร์ว่อน "แกงส้มช่วยปราบเซลล์มะเร็งได้"

 

ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม

ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม

 

"อาจารย์ ม.มหิดล เตือนอย่าเข้าใจงานวิจัยผิด จนไปกินแกงเหลือง-แกงส้ม แทนยารักษามะเร็ง"

ข่าวเก่านับ 10 กว่าปี เรื่องงานวิจัยของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2013 เกี่ยวกับการศึกษาผลของอาหารไทย จำพวกแกง คือ แกงป่า แกงส้ม แกงเหลือง และแกงเลียง ว่าจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้แค่ไหนนั้น ... ถูกนำกลับมาแชร์กันใหม่อีกแล้ว แชร์กันใหญ่เลยก็ต้องเอาคำชี้แจงจากทางนักวิชาการ มาเน้นย้ำว่า มันเป็นแค่ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ และไม่ควรเข้าใจผิด จนเอาแต่กินแกง แทนยารักษามะเร็ง ครับ ! 

(ซึ่งจริงๆ แล้ว ผลการวิจัยบอกว่า "แกงเลียง" ดีสุด ไม่ใช่ แกงเหลือง-แกงส้ม อย่างที่แชร์กัน . อ่านรายละเอียดด้านล่าง ต่อไป)

โดยบทความเรื่อง "นักวิชาการเตือน อย่ากินแกงเหลือง แทนยารักษามะเร็ง" เขียนโดย คีติกา จันทร์โชติพัฒนา จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดูลิงค์ด้านล่าง) ได้เขียนถึงกรณีที่มีการแชร์ข้อความ ทำนองว่า "แกงเหลือง ทำให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก 15 เท่า ดีกว่าการใช้ยาถึง 2 เท่า" ซึ่งเป็นการบิดเบือนผลงานวิจัยของสถาบัน

ตามการให้สัมภาษณ์ของ รศ.ดร. สมศรี เจริญเกียรติกุล อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาหารก็คืออาหาร ยาก็คือยา อาหารทดแทนยาไม่ได้ ประสิทธิภาพในการรักษาโรคแตกต่างกัน ข้อมูลที่แชร์กันนั้น เกิดจากการตัดทอนข้อความงานวิจัย และนำไปแปลงความหมายอย่างไม่ถูกต้อง ว่าแกงเหลืองดีกว่ายา อาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ และกินแต่แกงเหลืองซ้ำๆ ทุกวันเพื่อต้านมะเร็ง 

ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม ตีแผ่ความจริง แกงส้มปราบมะเร็ง แชร์กันว่อน จริงหรือมั่วนิ่ม

 

ในงานวิจัยจริงๆ นั้น ได้มีการนำน้ำแกงพร้อมปรุง  4 ชนิดได้แก่ 1. แกงป่า 2. แกงส้ม 3. แกงเหลือง 4. แกงเลียง ไปทดลองเลี้ยงกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ในจานเพาะเชื้อ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อดูว่า เซลล์มะเร็งตายมากน้อยแค่ไหน โดยพิจารณาว่าเป็นการตาย แบบธรรมชาติ (apoptosis คือ เซลล์มะเร็งฝ่อ แล้วค่อยๆ หายไป และจะไม่กระทบต่อเซลล์ปรกติอื่นๆ ) หรือการตาย แบบผิดธรรมชาติ (necrosis คือ เซลล์มะเร็งเกิดการอักเสบ แล้วแตกออก ซึ่งอาจส่งผลให้มะเร็งลุกลามไปที่เซลล์ดีๆ ได้) ต่างกันเท่าไหร่

ผลการทดลอง พบว่า "แกงป่า" สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตายแบบธรรมชาติ 38.82 % และ ตายแบบผิดธรรมชาติ  43.93 % , "แกงส้ม" : ฆ่าเซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติ 43.59 % และ ตายแบบผิดธรรมชาติ 27.33 %   , "แกงเหลือง" พบว่าตายตามธรรมชาติ 22 % ตายผิดธรรมชาติ 46.13 % , "แกงเลียง" : ฆ่าเซลล์มะเร็งตายตามธรรมชาติ 38.98 % และมีเพียง 3.78 % เท่านั้น ที่เซลล์ตายแบบผิดธรรมชาติ 

ซึ่งนักวิจัยสรุปไว้ว่า "แกงเลียง" นั้นให้ผลดีที่สุด (ดีกว่าแกงส้ม ที่แชร์กัน) เพราะถึงแม้จะฆ่าเซลล์มะเร็งได้น้อยกว่าแกงอื่นๆ แต่ปัญหาที่อาจจะเกิดการลุกลามไปเซลล์ดีๆ นั้น น้อยกว่าแกงอื่นมาก 

แต่อย่าลืมว่า ผลที่ได้นี้ คือการเอาน้ำแกง หยอดลงไปในจานเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ซึ่งการทดลองแบบนี้ มักจะพบว่า สารสารพัดชนิด มีความเป็นไปได้ที่จะฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในห้องปฏิบัติการ ทั้งที่อาจจะไม่ได้ผลเท่าไหร่เลยในร่างกายของคนจริงๆ 

นักวิจัยเลยมีการทดลองต่อกับ "แกงเลียง" ด้วยการนำส่วนผสมต่างๆ ของแกงเลียง มาปั่นละลายน้ำ ป้อนให้กับหนูทดลองที่ได้รับสารก่อมะเร็ง และพบว่า หนู(ซึ่งเป็นมะเร็ง) ที่กินแกงเลียงเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดลง 45% , และหนูกลุ่มที่กินแกงเลียงเพิ่มขึ้น (เป็น 2 หน่วยบริโภค) จะมีเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดลง 48 % 

ส่วนผสมหลักๆ ของแกงเลียงนั้น มีสมุนไพรหลายชนิด โดยเฉพาะ "หอมแดง" ที่มีประโยชน์มาก เพราะมีสาร ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งช่วยทำลายอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบของเซลล์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้ .. การบริโภคแกงเลียง รวมถึงแกงอื่นๆ ที่มีสารจากสมุนไพรเป็นองค์ประกอบนั้น จึงมีประโยชน์ในแง่ของการต่อต้านการขยายตัวของโรคมะเร็ง แม้ว่าจะไม่ถึงกับรักษามะเร็งให้หายได้

แต่ๆๆ นี่ก็ยังเป็นผลวิจัยในสัตว์ทดลอง (คือ หนู) เท่านั้น ยังไม่มีการทดสอบในมนุษย์ ว่าจะได้ผลอย่างไร ! 

ทางนักวิจัย จึงได้เน้นย้ำว่า "ขอให้ผู้ป่วย อย่าคาดหวังว่า การรับประทานแกงเลียง จะส่งผลดีมากกว่าการใช้ยา" ผู้ป่วยมะเร็งควรไปพบแพทย์  และทำการรักษากำจัดให้เนื้อร้ายหายไป ไม่ใช่ไปโปรโมทกันผิดๆ ว่าให้กินแกงเลียงเพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ 

นอกจากนี้ ยังระบุว่า "ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องกินแกงเลียงทุกวัน เพราะยังมีอาหารไทยอีกหลายอย่าง ที่ประกอบด้วยพืชผักสมุนไพร คล้ายกับแกงเลียง"  .. แถมการกินอาหารซ้ำๆ อาจก่อให้เกิดการตกค้างของสารพิษ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถจัดการได้ทัน

แถมท้ายว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์ ของช่อง 9 อสมท สำนักข่าวไทย ก็ได้เคยทำรายการ ตอน "แกงไทย 5 ชนิด ยับยั้งเซลล์มะเร็ง จริงหรือ ?" โดยไปสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เอาไว้แล้วด้วย ลองเข้าไปฟังกันโดยตรง ได้นะครับ

 

ขอบคุณ Jessada Denduangboripant

 

 

Thailand Web Stat