ท้าวศรีสุดาจันทร์ ลอบวางยาพิษพระสวามี จริงหรือแค่ตำนาน

01 พฤศจิกายน 2567
92

ตำนานหรือความจริง? เรื่องราวของท้าวศรีสุดาจันทร์ที่ลอบวางยาพิษพระสวามี เป็นเพียงเรื่องเล่าขาน หรือมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยัน

แม่หยัว เรื่องราวของ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ที่ลอบวางยาพิษพระสวามี เป็นเพียงเรื่องเล่าขาน หรือมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยัน? นักประวัติศาสตร์ไขปริศนา ค้นหาความจริงเบื้องหลังการสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์ ลอบวางยาพิษพระสวามี สุดจริงหรือแค่ตำนาน

ท้าวศรีสุดาจันทร์ ใครคือเธอ?

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นชายาในสมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระนางมีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาอยู่ในช่วงขาขึ้นทางอำนาจและความมั่งคั่ง เรื่องราวของพระนางมักถูกเล่าขานในแง่มุมของความทะเยอทะยาน อำนาจ และความรักที่นำไปสู่โศกนาฏกรรม

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์ ลอบวางยาพิษพระสวามี สุดจริงหรือแค่ตำนาน

ตำนานการลอบวางยาพิษ

 

เรื่องราวที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเกี่ยวกับท้าวศรีสุดาจันทร์ คือการที่นางลอบวางยาพิษพระสวามีของตนเอง เพื่อที่จะได้ครอบครองอำนาจและยกให้คนรักขึ้นครองราชย์แทน อย่างไรก็ตาม เรื่องราวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำนานที่ถูกเล่าขานต่อๆ กันมา และยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนยืนยันว่าเรื่องราวนี้เป็นความจริงหรือไม่


ท้าวศรีสุดาจันทร์” เป็นหนึ่งในสตรีที่ประวัติศาสตร์มักจารึกและกล่าวถึงในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็น ลอบคบชู้กับ “ขุนวรวงศาธิราช” พยายามลอบฆ่าโอรสของตนเอง หรือหากย้อนเวลากลับไปหน่อยก็ถึงขั้นที่ว่า ใช้ยาพิษลอบฆ่าพระสวามี อย่าง “สมเด็จพระไชยราชาธิราช” กษัตริย์แห่งอยุธยา

 

แล้วพระนางลอบฆ่า “สมเด็จพระไชยราชาธิราช” จริงหรือ?

 

หากอ้างอิงเอกสารปินโตโปรตุเกส จะเห็นว่ามีการกล่าวถึงท้าวศรีสุดาจันทร์ลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระไชยราชาธิราช ว่า

พระนางถวายน้ำนมให้พระเจ้าแผ่นดินเสวย ซึ่งแสดงฤทธิ์ยาได้ผล เพราะพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จสวรรคตภายใน 5 วันหลังจากเสวยน้ำนมแล้ว…”

ขณะเดียวกันเอกสารของวันวลิตฮอลันดากลับบอกว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เนื่องจากสาเหตุตามธรรมชาติ ขณะยกทัพกลับจากไปทำสงครามกับเชียงใหม่-ลำพูน

อย่างไรก็ตาม เอกสารทั้ง 2 ชิ้นนี้ยังมีข้อด้อยอยู่ เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ฟังจากคนอื่นมาอีกทอดหนึ่ง แม้ว่าปินโตโปรตุเกสจะอยู่ในช่วงเดียวกับสมเด็จพระไชยราชาธิราช แต่ก็อยู่ในฐานะต่างชาติที่ห่างไกลจากราชสำนัก

มาต่อกันที่เอกสารของไทยอย่าง “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์” เอกสารนี้ถือเป็นหลักฐานที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมาก เนื่องจากสอบทานมาแล้วทุกด้าน 

ในนี้ปรากฏเรื่องราวหลักฐานไว้ว่า “เดือน 4 ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเชียงใหม่มายังพระนครศรีอยุธยา” และ “เดือน 6 สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาในปีนั้นแผ่นดินไหว” 

ทำให้ทราบว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับมาถึงพระนครศรีอยุธยากว่า 2 เดือน ก่อนจะเสด็จสวรรคต ขณะเดียวกันคำให้การชาวกรุงเก่าก็บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตตามปกติ

ด้าน “พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” บันทึกไว้ว่า “เสด็จสวรรคต ณ มัชฌิมวิถีประเทศ มุขมนตรีเชิญพระบรมศพเข้าพระนครศรีอยุธยา” หมายความว่า สวรรคตที่ใดที่หนึ่งนอกอยุธยาตามปกติ นั่นเอง

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ใครหลายคน รวมถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คาดการณ์ว่า “สมเด็จพระไชยราชาธิราช” น่าจะกลับมาถึงอยุธยา แล้วค่อยประชวร ก่อนที่จะสวรรคต ไม่ได้เกิดจากการที่ “ท้าวศรีสุดาจันทร์” ลอบฆ่าด้วยยาพิษแต่อย่างใด ทั้งพระองค์ยังเชื่อว่า ในตอนนั้นพระนางน่าจะยังไม่ได้ลอบคบชู้กับขุนวรวงศาธิราชอีกด้วย

 

บทสรุป

เรื่องราวของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและซับซ้อน เราอาจจะไม่มีวันรู้ความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับนาง แต่เรื่องราวของนางก็ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ศึกษาค้นคว้าและตีความไปในแง่มุมต่างๆ เรื่องราวของนางยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทายให้นักประวัติศาสตร์ได้ไขปริศนาต่อไป

 

 

ขอบคุณ : ประวัติศาสตร์