คเณศจตุรถีตรงกับวันไหน? ของไหว้พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง
”
คเณศจตุรถี 6-7 กันยายนนี้! ขอพรพระพิฆเนศให้ปัง! เตรียมของไหว้และขั้นตอนการบูชาแบบละเอียด มีคำแนะนำให้ค่ะในบทความ
"คเณศจตุรถี" ทำไมต้องบูชาพระพิฆเนศ? การบูชาพระพิฆเนศเป็นการแสดงความเคารพและขอพรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ของไหว้พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง? ของไหว้พระพิฆเนศที่นิยมใช้ ได้แก่ ดอกไม้ ผลไม้ ธูป เทียน และโมทัก (ขนมหวานชนิดหนึ่ง) คเณศจตุรถีตรงกับวันไหน? วันที่จัดงานคเณศจตุรถีจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติของฮินดู ซึ่งปีนี้ซึ่งปีนี้ เทศกาลคเณศจตุรถี 2567 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 16:31 – วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 19:07
คเณศจตุรถีตรงกับวันไหน? ของไหว้พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง มาทำความเข้าใจกันก่อน
คเณศจตุรถี เป็นเทศกาลสำคัญในศาสนาฮินดูที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติขององค์พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ปัญญา และศิลปะ เทศกาลนี้มักจะตรงกับช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายนของทุกปี โดยมีการจัดพิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและขอพรจากองค์พระพิฆเนศ
ความสำคัญของเทศกาลคเณศจตุรถี
- การขอพร : ชาวฮินดูเชื่อว่าการบูชาองค์พระพิฆเนศในช่วงเทศกาลนี้ จะช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการงาน การเรียน หรือความรัก
- การขจัดอุปสรรค : พระพิฆเนศเป็นที่รู้จักในฐานะเทพเจ้าที่สามารถขจัดอุปสรรคต่างๆ ได้ ดังนั้นการบูชาพระองค์จึงเป็นการขอให้พ้นจากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
- การแสดงความเคารพ : เทศกาลคเณศจตุรถีเป็นโอกาสที่ชาวฮินดูจะได้แสดงความเคารพและความศรัทธาที่มีต่อองค์พระพิฆเนศ
พิธีกรรมและกิจกรรมในเทศกาลคเณศจตุรถี
- การสร้างรูปปั้น : ชาวฮินดูจะสร้างรูปปั้นพระพิฆเนศจากดินเหนียวหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อประดิษฐานไว้ในบ้านหรือที่สาธารณะ
- การบูชา : มีการบูชาพระพิฆเนศด้วยดอกไม้ ผลไม้ ธูป เทียน และอาหารต่างๆ
- การร้องเพลงและเต้นรำ : มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น การร้องเพลงสวดมนต์ และการเต้นรำเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
- การอัญเชิญและอภิเษก : ในบางพื้นที่จะมีการอัญเชิญรูปปั้นพระพิฆเนศไปยังแหล่งน้ำเพื่อทำพิธีอภิเษกก่อนที่จะนำกลับมาประดิษฐาน
- การละลายรูปปั้น : หลังจากสิ้นสุดเทศกาล รูปปั้นพระพิฆเนศจะถูกนำไปละลายในแหล่งน้ำ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการส่งพระองค์กลับสู่สวรรค์
ความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศ
- เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ : พระพิฆเนศเป็นที่รู้จักในฐานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ การเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ และการขจัดอุปสรรค
- เทพเจ้าแห่งปัญญา : พระองค์ยังเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาและศิลปะ ชาวฮินดูจึงมักอธิษฐานขอพรให้ได้รับความรู้และความฉลาด
- เทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรค : ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีเศียรช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก ชาวฮินดูจึงเชื่อว่าพระองค์สามารถขจัดอุปสรรคต่างๆ ได้
“เทศกาลคเณศจตุรถี” ไม่เพียงแต่เป็นเทศกาลทางศาสนา แต่ยังเป็นเทศกาลที่สร้างความสามัคคีและความสุขให้กับชาวฮินดูทั่วโลก การได้ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ทำให้ผู้คนได้รู้สึกถึงความเชื่อมโยงกันในทางศาสนาและวัฒนธรรม
ของไหว้บูชาพระพิฆเนศ
สำหรับของไหว้พระพิฆเนศ ห้ามใช้เนื้อสัตว์ทุกชนิด สามารถใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ได้บ้าง แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
- ผลไม้ : อ้อย
- เครื่องดื่ม : น้ำอ้อยและนมวัว
- ขนมไทยและขนมอินเดีย : ขนมโมทกะ, ขนมต้มแดง, ขนมต้มขาว และขนมหวานลาดูป
- ของไหว้อื่น ๆ : ข้าวสาร, เกลือ, พืช, ผัก, งา, สมุนไพร, ธัญพืช และเครื่องเทศทุกชนิด
ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
- ถวายเครื่องบูชาสักการะ โดยนำของทั้งหมดวางไว้หน้าเทวรูปพระพิฆเณศ
- วางดอกไม้ไหว้หน้าเทวรูป หรือถ้าร้อยเป็นพวงให้นำไปคล้องที่พระกรของเทวรูป
- จุดเทียน ธูปหอม กำยาน ฯลฯ ต่อหน้าเทวรูป
- ทำจิตใจให้สงบแล้ว ตั้งนะโม 3 จบ และเริ่มกล่าวบทสวดพระพิฆเนศ
- พอท่องบทสวดมนต์เสร็จแล้ว ให้อธิษฐานขอพรเป็นภาษาไทย
- กล่าวคำว่า “โอม ศานติ” (3 ครั้ง) ขอความสันติและสงบสุข เป็นอันเสร็จพิธี *บทสวดพระพิฆเนศสามารถใช้บทสวดใดก็ได้เพียงบทเดียว หรือจะสวดหลาย ๆ บทต่อเนื่องกันก็ยิ่งดี แต่ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่คือ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา”
คำภาวนาก่อนเริ่มบทสวดพระพิฆเนศ
สำหรับชาวพุทธให้ตั้งนะโม 3 จบก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มบทสวดพระพิฆเนศ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)