ทำความรู้จัก รอมฎอน เดือนถือศีลอด ของพี่น้องชาวมุสลิม
วันนี้ทีมข่าวปาฏิหาริย์ ชวนทำความรู้จัก รอมฎอน หรือ เราะมะฎอน เดือนถือศีลอด ของพี่น้องชาวมุสลิม มีความสำคัญอย่างไรไปทำความเข้าใจกันคะ
รอมฎอน หรือ เราะมะฎอน เดือนถือศีลอด ของพี่น้องชาวมุสลิม เริ่มขึ้นแล้วในปี พ.ศ. 2567 นี้ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ไปจนถึงวันอังคาร ที่ 9 เมษายน 2567 ทำความรู้จัก รอมฎอน เดือนถือศีลอด ของพี่น้องชาวมุสลิม กันคะ
รอมฎอน เดือนถือศีลอด ในทุกๆ ปี ศาสนิกชนชาวมุสลิมจะปฏิบัติภารกิจ “ถือศีลอด” ใน “เดือนรอมฎอน” เป็นระยะเวลา 29-30 วันตามหลักความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมที่คุ้นเคยของประชาชนต่างศาสนาเป็นอย่างดี และมีประวัติความเป็นมาความสำคัญอย่างไรบ้าง ก็คือ จุฬาราชมนตรี กำหนดวันเพื่อดูดวงจันทร์ในวันที่ 10 มี.ค. 2567 หากในวันและเวลาดังกล่าวมีผู้เห็นดวงจันทร์แล้ว คณะกรรมการประจำจังหวัดจะตรวจสอบและรายงานผลการดูดวงจันทร์มายังจุฬาราชมนตรีต่อไป แล้วจะมีการพิจารณา เพื่อออกประกาศวันเริ่มต้นของ "เดือนรอมฎอน" ให้ทราบโดยทั่วกัน โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 ตามที่สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันแรกของการเข้าสู่เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 นั้น ปรากฏว่าหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันและเวลาดังกล่าวนั้น "ไม่มีผู้พบเห็นดวงจันทร์" จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอนนั้น จะตรงกับ "วันที่ 12 มีนาคม 2567"
ประวัติของ “เดือนรอมฎอน”
“รอมฎอน” ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อของเทศกาลหรือธรรมเนียมใดๆ แต่เป็นชื่อเรียกเดือนที่ 9 ในปฏิทินฮิจเราะญ์ หรือปฏิทินจันทรคติของอิสลาม ถือเป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าพระผู้เป็นเจ้าประทาน “พระคัมภีร์อัลกุรอาน” ลงมาให้แก่ “นบีมูฮัมหมัด” ศาสดาของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้สั่งสอนและเป็นเครื่องชี้ทางให้แก่อิสลามิกชนทั่วโลก โดยในพระคัมภีร์ระบุว่าวันที่พระเจ้าประทานอัลกุรอานให้แก่นบีมูฮัมหมัด คือช่วงวันที่ 26-27 ของเดือนรอมฎอน
ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมจึงถือว่าเดือนรอมฎอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ชาวมุสลิมทุกคนจึงต้องรักษาศีล อดอาหาร เพื่อฝึกฝนการบังคับตนเองและเพื่อให้เข้าถึงคำสอนของนบีมูฮัมหมัดให้ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงใช้เวลาในการศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษเพื่อ เป็นการบูชาพระเป็นเจ้า จนทำให้เดือนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างในภาษาไทยว่า “เดือนบวช”
สิ่งที่ควรทำในการถือศีลอด
สรุปได้มีดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา
- ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านอัลกุรอ่าน
- เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ควรทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก
- เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- ไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ (การละหมาดในเดือนรอมฎอน) ทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ
- แบ่งปันอาหารหรือบริจาคทานให้ผู้ที่ถือศีลอด
- พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ
- ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน
ข้อห้ามขณะถือศีลอด
ข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติ ในช่วงเวลากลางวัน มีดังต่อไปนี้
- ห้ามกิน/ดื่ม อย่างไรก็ตามน้ำลายกลืนได้ไม่ห้าม
- ห้ามสูบบุหรี่
- ห้ามร่วมประเวณี
- ห้ามทำให้อาเจียน
- ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนาง
- “รอมฎอน” ถือเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม คล้ายกับการถือศีลของชาวพุทธ เพียงแต่ของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ ยกเว้นกรณีพิเศษ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งครรภ์ หรืออายุไม่ถึง 15 ปี ถึงจะสามารถละเว้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : จุฬาราชมนตรี และ การถือศีลอดของชาวมุสลิม