วันสารทเดือนสิบ กับ วันสารทไทย ต่างกันอย่างไร
ประเพณีสารทเดือนสิบ หลายคนสงสัยว่า วันสารทเดือนสิบ กับ วันสารทไทย ต่างกันอย่างไร ไปหาคำตอบได้พร้อมกันในบทความนี้
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีของคนไทยที่จะจัดขึ้นในทุกภาคของประเทศแต่จะจัดขึ้นไม่ตรงกัน และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป และ วันสารทเดือนสิบ กับ วันสารทไทย ต่างกันอย่างไร ไปหาคำตอบได้ในบทความนี้คะ
ทำความรู้จัก ประเพณีสารทเดือนสิบ คือประเพณีทำอะไร
วันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ เป็นเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่ง วันสารทไทย 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม วันนี้มีความสำคัญอย่างไร มาย้อนอ่าน ประวัติ ขนมวันสารทไทย ประเพณีที่ควรอนุรักษ์ไว้มีดังนี้ค่ะ
ต้นกำเนิดของ สารทไทย ในประเทศไทย และการทำบุญวันสารทมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์แพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีวันสารทมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันสารทไทยนิยมทำอะไรกัน กิจกรรมหลัก ๆ ของวันสารทไทย คือ การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการตักบาตรมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ตักบาตรน้ำผึ้ง ที่มีเฉพาะชาวไทยมอญ การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่าเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีการฟังธรรมเทศนา ถือศีล ปล่อยนกปล่อยปลา
วันสารทเดือนสิบ กับ วันสารทไทย ต่างกันอย่างไร
จริงๆ แล้ว คือวันเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกไปตามภูมิภาคเท่านั้น เช่น
- ภาคกลาง = สารทไทย
- ภาคเหนือ = งานทานสลากภัตร / ตานก๋วยสลาก
- ภาคใต้ = งานบุญเดือนสิบ / ประเพณีชิงเปรต
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ = ทำบุญข้าวสาก
และจุดประสงค์หลักๆ ก็คือ เหมือนกัน การทำบุญกลางปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองที่มีชีวิตผ่านพ้นเวลามาได้ถึงกึ่งปี และเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่อาจมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้าง เช่น
ประเพณีวันสารทไทย ภาคกลาง ชาวบ้านจะจัดแจงข้าวปลาอาหาร ไปทำบุญกรวดน้ำที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับ และถือศีล ฟังธรรมเทศนา และบางท้องถิ่นจะทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ
ประเพณีตานก๋วยสลาก ภาคเหนือ มักจะมีญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ต่างบ้านมาร่วมทำบุญ และมาร่วมจัดดาสลากด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีที่จะได้ทำบุญร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นของกิน หรือของใช้ต่าง ๆ เช่น เกลือ ข้าวสาร หอม กะปิ ชิ้นปิ้ง เนื้อเค็ม จิ้นแห้ง แคบหมู เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
ประเพณีทำบุญเดือนสิบ ภาคใต้ มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10 เป็น 2 วาระ คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ดังนั้น จึงมีการทำบุญใน 2 วาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะมีความสำคัญมากกว่า
ประเพณีงานบุญเดือนสิบ หรือ ทำบุญข้าวสาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเพณีการทำบุญในเดือน 10 เหมือนกัน คือ ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 แต่แบ่งระยะเวลาของประเพณีการทำบุญออกไปเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก ก่อนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวเม่าพอง และข้าวตอก (บางแห่งเรียกดอกแตก) ขนมและอาหารหวานคาวอื่น ๆ เพื่อจะทำบุญในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 โดยเฉพาะข้าวสาก ซึ่งคนไทยภาคกลางเรียกว่า กระยาสารท เมื่อเตรียมของทำบุญไว้เรียบร้อย ก็จะเอาข้าวปลาอาหารไปส่งญาติพี่น้อง ระยะที่สอง คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เวลาเช้า ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรที่วัด อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่อาจมีบางคนอยู่วัดรักษาศีล ฟังเทศน์ เมื่อถึงเวลาใกล้เพล ก็เตรียมภัตตาหารไปวัดอีกครั้งหนึ่ง มีห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ข้าวสาก และอาหารอื่น ๆ บางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วย
สำหรับ ประเพณีวันสารทไทย ปัจจุบันคนกรุงเทพไม่ค่อยได้เห็นประเพณีนี้แล้ว แต่ตามต่างจังหวัดยังคงมีประเพณีวันสารทไทยนี้อยู่ เพื่อทำบุญระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและยังเป็นการพบปะกันระหว่างญาติพี่น้องที่ไม่ค่อยเจอกันให้ได้กับมาเห็นหน้ากันอีกครั้ง ก็ งานบุญเดือนสิบ