สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

30 สิงหาคม 2566
756

หลายคนสงสัยว่า วันสารทไทย วันสารทจีน วันสารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ไหว้ใคร แล้วไหว้ทำไม ไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ

วันสารท จีน ไทย ลาว เหมือนกันหรือไม่ หลายคนมีความสงสัยว่า วันสารทของแต่ละประเทศนั้นเหมือนกันหรือเปล่า พิธีกรรมต่างๆ มีความเป็นมาอย่างไร จัดขึ้นเพื่ออะไร และไหว้ใคร ไปหาคำตอบพร้อมกัน วัน สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 

วันสารท จีน ไทย ลาว เหมือนกันหรือไม่ สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

วันสารทไทย ตรงกับ วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566

วันสารทไทย หรือ ประเพณีสารทเดือนสิบ จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว คล้ายกับเทศกาลวันสารทจีน โดยเป็นประเพณีไทยที่จัดขึ้นทุกปีและจะตรงกับวัน แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกๆ ปี เป็นวันที่ลูกหลานชาวไทยจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ อีกทั้งยังเป็นการที่พี่น้องและครอบครัวได้พบปะเจอหน้ากัน นับว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ 

วันสารทไทย 2566 สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

วันสารทจีน ตรงกับ วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566

วันสารทจีน หรือ เทศกาลสารทจีน จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะจัดใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกๆ ปี เป็นประเพณีสำคัญอีกหนึ่งวันที่ชาวจีนจะนิยมไหว้บรรพบุรุษ หรือ ไหว้ผี ผู้ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง อีกทั้งชาวจีนยังมีความเชื่อว่า เป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญ ได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน จึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือนค่ะ

วันสารทจีน 2566 สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

วันสารทลาว ตรงกับ วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

วันสารทลาว หรือ ประเพณีสารทลาว จากผู้เฒ่าเล่าสืบต่อกันมาในอดีตเมื่อชาวไร่ชาวนาได้ผลผลิตจากนาข้าวที่ปลูก เมื่อเก็บเกี่ยวสู่ขวัญข้าวเรียบร้อยแล้วระหว่างเริ่มว่างงานก็อยู่ในช่วงเดือนสิบ ชาวไทยลาวเวียงจะรักษาฮิต 12 คล้ายกับภาคอีสาน รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด ถือโชคลาง ถือความเชื่อ ถือผีบรรพบุรุษยึดมั่นในพุธศาสนา จึงเชื่อกันว่า หลังจากได้ผลผลิตนาข้าวจะต้องนำข้าวใหม่มาหุงทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่เบื้องสูง เทวดา ฟ้า ดินที่คนทั่วไปได้เพาะปลูกข้าว พืชพันธุ์ต่าง ๆได้อยู่ได้กิน อุดมสมบูรณ์ และวันสำคัญที่เกี่ยวข้องที่จะมาถึงคือ บุญกลางเดือนสิบ บุญแก้ห่อข้าวสารทลาว บุญข้าวสาก เพ็ญเดือนสิบ ก่อนจะถึงวันบุญข้าวสาก 2-3 วัน บ้านใกล้เรือนเคียงต่างรวมกลุ่มเครือญาติช่วยกันกวนข้าวตอก ใส่โอ่ง ใส่ไห ใส่กระบุง นิยมทำกันมาก ๆ เพราะ 1 ปี จะกวนแค่ 1 ครั้ง เท่านั้น พร้อมทั้งห่อแจกทานเพื่อนสนิทมิตรที่รักต่างบ้านอีกด้วย

วันสารทลาว 2566 สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

 

สารทไทย สารทจีน สารทลาว เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?


สรุป : วันสารทไทย วันสารทจีน และวันสารทลาว มีจุดประสงค์เหมือนกัน คือ การทำบุญจัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต จะต่างกันก็เพียงแค่เดือนในการจัดเท่านั้น เช่น วันสารทจีน จัดขึ้นในเดือน 7 ของทุกๆ ปี และสารทไทย สารทลาว จะจัดขึ้นในเดือน 10 ของทุกๆ ปี โดยประเทศไทยวันสารทจะมีทุกภาค 

1. อย่างภาคเหนือ จะชื่อ บุญสลากภัตร ชาวภาคเหนือ จะจัดเตรียมข้าวของ และอาหารสำหรับที่จะนำมาจัดดาใส่ก๋วยสลาก โดยก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 
 
- ก๋วยน้อย สำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ทั้งญาติ เพื่อนพ้อง หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรัก และมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิต 


- ก๋วยใหญ่ จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษ บรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธา และฐานะดี เป็นปัจจัยที่นับว่าได้กุศลแรง

2. ภาคใต้จะชื่อ งานบุญเดือนสิบ ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว พร้อมขนมเดือนสิบไปทำบุญที่วัด พร้อมทั้งให้พระสงฆ์ได้บังสุกุลอัฐิส่งส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วหลังจากนั้น นำเครื่องเซ่นไหว้ตั้งที่ร้านเปรต (สถานที่ตั้งอาหารเป็นร้านสูงพอสมควร) เพื่อให้มากินเครื่องเซ่นไหว้ ต่อมา ชาวบ้านที่มาทำบุญ จะแย่งชิงสิ่งของที่ตั้งไว้ที่ร้านเปรตเพราะเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลกับตัวเอง

3. และภาคกลาง วันสารทไทย ชาวบ้านจะรวมตัวกันเพื่อทำ “กระยาสารท” ไปใส่บาตร และแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน ในวันสารท ชาวบ้านจะเตรียมอาหารไปทำบุญกรวดน้ำที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล และฟังธรรมเทศนา

4. ภาคอีสานจะเรียกว่า บุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารที่ห่อด้วยใบตอง โดยแบ่งเป็น 2 ห่อ ห่อแรก คือ หมาก พลู และบุหรี่ ห่อที่สอง คือ อาหารคาวหวาน ประกอบด้วย ข้าวเหนียว เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และของหวานคือ กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง แตงโม สับปะรด ฟักทอง พอถึงวันทำบุญข้าวสาก ในช่วงเช้าจะมีการนำอาหารไปถวายพระสงฆ์ก่อนหนึ่งครั้ง  หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลา 9-10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลอง ญาติโยมจึงนำอาหารมาถวาย โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก เมื่อชาวบ้านมาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าจะกล่าวนำคำถวายสลากภัต  แล้วนำไปให้พระเณรจับสลาก หากจับได้สลากของใคร ผู้เป็นเจ้าของสำรับกับข้าว และเครื่องปัจจัย ก็จะนำไปประเคนให้พระรูปนั้น ๆ จากนั้นจะเริ่มกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

ขอขอบคุณ : ประเพณีสารทลาว,ประเพณีสำคัญของชาวไทยภาคอีสาน