หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

20 กรกฎาคม 2566
465

หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา กับความเชื่อขอพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองนาลันทา และเป็นเพียงพระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา หรือ หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย และความเชื่อขอพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เป็นที่น่านับถือเป็นที่พึ่งดุจเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน จะมีประวัติความเป็นมาอย่างไรไปติดตามรับข้อมูลพร้อมกันค่ะ

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองนาลันทา หรือ หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปสำคัญที่เลื่องชื่อที่สุดในประเทศอินเดีย ย้อนกลับไปจากบันทึกของ “ปิลาซิง” กล่าวว่า ณ เมืองนาลันทา กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย นอกจากศาสนวัตถุสำคัญ ซากกองอิฐสีแดงและเศษรูปสลักหินอ่อนที่ปรักหักพังของ “มหาวิทยาลัยนาลันทา” มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลกแล้ว ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่นอกเขตรั้วของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทางด้านทิศตะวันตก มีพระนามว่า “หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ” เพราะเป็นพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่หลุดรอดจากการถูกทำลายของกองทัพมุสลิมเติร์ก (ตุรกี) ในปี พ.ศ. 1766 

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระเกตุทรงบัวตูม ปางนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ชี้แม่พระธรณีเป็นพยาน หน้าตักกว้าง 69 ฟุต สร้างในสมัยพระเจ้าเทวปาล เมื่อประมาณ พ.ศ. 1353-1393 ประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศเหนือของซากปรักหักพังของมหาวิทยาลัยนาลันทา เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณปี 1766 จนถูกเศษอิฐและหินทับถมลงใต้แผ่นดินเป็นเวลานานเกือบ 7 ศตวรรษ หรือประมาณเกือบ 700 ปี

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

ชาวอินเดียนับถือศรัทธาความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ เป็นอย่างมาก เวลาลูกไม่สบายก็พากันเอาน้ำมันเนยมาทาที่องค์ท่านก่อน แล้วลูบเอาน้ำมันเนยนั้นกลับมาทาตัวลูก ทำให้ลูกหายเจ็บป่วย หายงอแง กินข้าวได้ อ้วนท้วนสมบูรณ์ จนหลายคนขนานนามท่านว่า “หลวงพ่อน้ำมัน” หรือภาษาอินเดียว่า “เตลิยะบาบา” บางคนก็ขนานนามท่านว่า “หลวงพ่ออ้วน” หรือภาษาอินเดียว่า “โมต้าบาบา”

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

โดยมี ความเชื่อ ว่าเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ ก็เลยพากันมาบนบาน และแก้บนโดยเอาน้ำมันเนยมาทาลูบไล้ เอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา เอาข้าวสารมาไหว้ถวาย จนข่าวความศักดิ์สิทธิ์แพร่กระจายออกไปทั่ว แม้กระทั่งชาวพุทธในเมืองไทย ถ้าได้มายังประเทศอินเดีย ก็ไม่เว้นที่จะแวะไปกราบไหว้นมัสการหลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา เมืองราชคฤห์ แห่งนี้ และบริเวณใกล้ๆ กันกับมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้น มี “บ่อน้ำ” อยู่แห่งหนึ่ง ผู้คนชาวอินเดียมักจะมาบูชาพระอาทิตย์ และเอาน้ำในบ่ออาบกายตน เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้โชคดีมีสุข

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

พระพุทธองค์ดำ จำลอง จาก นาลันทา สู่เมืองไทย นับเป็นข่าวดีที่ พระมหา ดร.คมสรณ์ คุตตธัมโม ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ได้ขอน้อมพุทธานุภาพ พุทธบารมี จากหินชนิดเดียวกันที่สร้าง “หลวงพ่อดำ” จากนาลันทา ประเทศอินเดีย ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ วัดกลันทา (นาลันทา) บ้านกลันทา อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน เพื่อให้เป็นอุทเทสิกเจดีย์ พุทธานุภาพหลวงพ่อดำจากนาลันทา แดนพุทธภูมิ สู่กลันทาแดนสุวรรณภูมิ โดยขณะนี้ได้เลือกหินดำ แหล่งหินชนิดเดียวกันกับที่สร้างหลวงพ่อดำองค์จริง ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ขณะนี้นายช่างได้เริ่มงานแกะสลักหินดำสร้างเป็น “หลวงพ่อดำ” แล้ว โดยจะใช้ระยะเวลาการแกะสลักประมาณ 1 ปี จากนั้นจะอัญเชิญองค์หลวงพ่อจากอินเดียสู่เมืองไทยทางเรือ เพื่อประดิษฐาน ณ วัดกลันทา (นาลันทา) บ้านกลันทา อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นการถาวรสืบไป

 

คำสวดบูชาหลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ

  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
  • (ให้สวด 3 จบ)

คำสวดบูชา

  • อิติปิ โส ภะคะวา กาฬะวัณณะพุทธะปฏิมัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมาสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
  • (ให้สวด 9 จบ หรือ 108 จบ)

ขอพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พุทธบารมี สมเด็จพระพุทธเจ้าทรงวรรณะองค์ดำ ที่ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว จงมีอานุภาพ พลานุภาพ บุญญฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ จงบันดาลส่งผลให้ข้าพเจ้า มีอุดมมงคลสูงสุดในตัวข้าพเจ้าและครอบครัว ธุรกิจการงานของข้าพเจ้า จงชนะตลอด ปลอดภัยตลอด เจริญรุ่งเรืองตลอด ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต มีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่ง

หลวงพ่อพุทธองค์ดำ พระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือจากการทำลาย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.ดร. เมธา สุพงษ์ , เสถียรธรรมสถาน , พระครูอินเดีย , ดร.คมสรณ์