วันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่แน่ชัดก็คือเป็น ประเพณีทำบุญเดือน10 ในภาคใต้ โดยเฉพาะในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช มีประเพณีนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2466 จึงทำให้ประเพณีทำบุญเดือนสิบที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นที่รู้จักและเลื่องลือกันมากกว่าในจังหวัดอื่น
ประวัติ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ
ทำบุญเดือน 10 เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวภาคใต้ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ในปลายเดือน 10 พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปตกนรกอยู่ซึ่งเรียกว่า “เปรต” จะได้รับการปล่อยตัวจากพยายมให้ขึ้นมาพบลูกหลานและญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ใน “วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และให้กลับไปอยู่เมืองนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10”
ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญเป็นประเพณีขึ้นใน
บางท้องที่ทำในวันแรม 14 ค่ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องตลอดจนบุคคลอื่นๆ ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นสำคัญ เพียงแต่ว่าการทำบุญใน 2 วาระนี้ อาจมีวิถีปฏิบัติต่างกัน กล่าวคือโดยทั่วไปแล้วจะกระทำกันอย่างจริงจังในวาระหลัง เพราะถือว่ามีความสำคัญกว่าในวาระแรก
ชาวพัทลุงและชาวภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า “วันชิงเปรต” หรือ “ประเพณีชิงเปรต” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “วันสาร์ท” หรือ “ประเพณีวันสารทไทย” เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปตชนหรือบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ที่ล่วงลับไปแล้วตามคติความเชื่อของชาวบ้านทั่วไป โดยการทำบุญบริจาคทานถวายพระภิกษุสงฆ์เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายนั่นเองคะ
บุญสารทเดือนสิบ 2565 ตรงกับวันอะไร
วันสารทเดือน 10 ตรงกับวันอะไร
พิธีกรรมของวันสารทเดือน 10 มีอะไรบ้าง
วันสารทเดือนสิบ ทำอะไรบ้าง
ประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10 เป็นสองวาระคือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะมีความสำคัญ มากกว่า